รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
SA 8000: เครื่องชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงถึงกรอบความคิดของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจที่หลากหลายแนวคิด ซึ่งแนวคิดที่นำมาใช้ในทางปฏิบัติที่มีความเป็นรูปธรรมแนวหนึ่ง คือ SA 800 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของ New York-Based Council on Economic Priorities Accreditation Agency (CEPPA) ข้อกำหนดของ SA 8000 นี้มาประยุกต์ใช้ในกิจการผลิตขนาดย่อมของประเทศไทย
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศผู้ส่งออกในแถบเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยต่างๆได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรฐานคุณภาพต่างๆจากองค์กรกลางทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน IOS 9000, QS 9000, ISO 14000, HACCP (Hazard Analysis and Critical Point) HA (Hospital Accreditation) รวมไปถึงการประกาศใช้ Code of Conduct ของสินค้ากลุ่มต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ของเด็กเล่น ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดโดยผู้ซื้อหรือกลุ่มผู้ซื้อ มาตรฐานเหล่านี้ส่วนใหญ่มักถูกจัดทำขึ้นโดยกลุ่มผู้ซื้อหรือองค์กรอิสระต่างๆ ดังจะเห็นได้จากมาตรฐานตระกูล ISO 9000 ซึ่งมีขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสินค้า/บริการ ในอันที่จะยกระดับคุณภาพของผู้ส่งมอบสินค้า (Supplier) จากหลายแหล่งผลิตให้มีมาตรฐานในอันที่จะประกันคุณภาพกระบวนการผลิต รวมถึงสินค้า/บริการให้กับผู้บริโภค ในทำนองเดียวกันมาตรฐานตระกูล ISO 14000 ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า กระบวนการผลิตสินค้า/บริการนั้นๆ ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่การรับประกันคุณภาพกระบวนการผลิตเท่านั้น ในอุตสาหกรรมบางประเภทยังต้องรองรับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า/บริการนั้นๆด้วย ดังจะเห็นได้จากมาตรฐาน HACCP ซึ่งใช้รับรองคุณภาพของสินค้าประเภทอาหารว่าอาหารนั้นๆอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
หลังจากที่กระแสการเรียกร้องให้การผลิตสินค้า/บริการอย่างไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าปีพ.ศ.2530 และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภค ความพยายามในการขยายขอบเขตของสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในวงกว้างได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดของผู้บริโภคมากขึ้น สิ่งแวดล้อมถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม” ของผู้ผลิต ดังที่ Punter และ Gangneux (1998) กล่าวว่า ช่วงปี 1992 เป็นต้นมาเป็นยุคสมัยของผู้บริโภคที่มีจริยธรรม อย่างไรก็ดีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจไม่ใช่แนวความคิดใหม่ มีองค์กรต่างประเทศหลายองค์กรที่ให้ความสำคัญ เช่น องค์กรการค้าระหว่างประเทศสหภาพแรงงานต่างๆ ปัญหาแรงงานเด็กและแรงงานจากเรือนจำก็ยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันในเวทีของหลายๆประเทศ รวมไปถึงแรงงานผิดกฎหมายและการกีดกันทางแรงงาน แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังสามารถพบได้อยู่ (Curada and Santos, 1999)
ความหมายของคำว่า “ผู้บริโภคที่มีจริยธรรม” คือ ผู้บริโภคที่คำนึงถึงความมีจริยธรรมทางธุรกิจของผู้ผลิต เป็นปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งในเงื่อนไขการซื้อสินค้า เช่น การซื้อสินค้าจากบริษัทที่ผลิตภายใต้หลักการของสิทธิมนุษยชน (Human Rights) ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการใช้แรงงานอย่างทารุณ การรับผิดชอบของบริษัทต่อสุขภาพกายและใจของคนงาน เป็นต้น
ประเด็นหลายประเด็นที่ต่อเนื่องมาจากการที่สังคมกลายเป็นสังคมของผู้บริโภคที่มีจริยธรรม คือ ทำอย่างไรธุรกิจจึงจะแสดงให้ผู้บริโภคในสังคม รับรู้ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ ธุรกิจควรแสดงความรับผิดชอบต่อใครในสังคม ในของเขตใดและรูปแบบใด ผู้บริโภคควรจะใช้เกณฑ์ใดในการตัดสินความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ ซึ่งในบทความนี้พยายามอธิบายถึงหลักการ ความสัมพันธ์และเสนอแนะเกณฑ์ชี้วัดบางประการที่เป็นทีนิยมแพร่หลายในสังคมโลก ในอันที่จะเสนอแนวความคิดแนวหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคมไทย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)