รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Balanced Scorecard กับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การบริหารสถานศึกษา |
2. | Balanced Scorecard |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | สถาบันอุดมศึกษา |
2. | มหาวิทยาลัย -- ไทย -- การบริหาร |
3. | สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำแนวคิดทางด้านการบริหารที่เรียกกันว่า Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เนื่องจากอนาคตอันใกล้นี้ รัฐบายมีนโยบายที่จะให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งส่งผลให้มหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องมีการดำเนินงานภายใต้การแข่งขันที่เสรีมากยิ่งขึ้น การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยของรัฐนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแต่เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยเอกชนอีกด้วย เนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยจะต้องบริหารเพื่อความอยู่รอดของตนเองนั้นจะทำให้มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนจะต้องมีการแข่งขันกันมากยิ่งขึ้น การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นนี้ อาจส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยจะต้องสร้างรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งอาจจะทำได้โดยการขึ้นค่าเล่าเรียน หรือแม้กระทั่งลดมาตรฐานการศึกษา เพื่อลดข้าใช้จ่ายขององค์กรลง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง
ดังนั้น เพื่อที่จะให้แต่ละมหาวิทยาลัยดำรงไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษาที่ดีเลิศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวัดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อจุดประสงค์นี้ การวัดผลการปฏิบัติงานนี้ยังช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานขององค์การ กับมหาวิทยาลัยอื่นๆ อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยในอนาคต
ปัจจุบันเครื่องมือทางการบริหารเครื่องมือหนึ่งซึ่งเรียกว่า Balanced Scorecard กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในธุรกิจต่างๆ โดย Balanced Scorecard จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติและเป็นการวัดผลการปฏิบัติงานในมุมมองต่างๆเพื่อที่จะให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามกลยุทธ์ที่ตั้งไว้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)