รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การบริหารทรัพยากรมนุษย์กับการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ทรัพยากรมนุษย์ |
2. | การบริหารงานบุคคล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในโลกเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) องค์การธุรกิจจะต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เคยประสบมาในอดีต ได้แก่ความเป็นโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร การให้ความสำคัญกับทุนทางปัญญา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดเวลาส่งผลให้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันแบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ตั้ง การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเครื่องจักร เทคโนโลยีใหม่ๆ จุดเด่นของสินค้า ล้วนถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย อย่างไรก็ตามให้การทำธุรกิจเราจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่า องค์การจะมีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ในโลกเศรษฐกิจใหม่ ความสามารถในการแข่งขันเกิดจากความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความสามารถในการปรับตัว สมรรถนะในการเรียนรู้ ดังนั้นองค์การต้องสร้างสมรรถนะในการบริหารภายในองค์การเองเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยการแข่งขันเหล่านี้ เพื่อให้คงความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ แนวคิดในเรื่องความสามารถในการสร้างการแข่งขันที่ยั่งยืนจึงมีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จในระยะยาว
ในเชิงการศึกษา มีแนวคิดหลายแนวคิดในการบริหารกลยุทธ์ ที่พยายามอธิบายปัจจัยในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แนวคิด Resource-Based View แนวคิดนี้เห็นว่าองค์การมีความสามารถในการแข่งขันระยะสั้น นับว่ายังไม่เพียงพอในโลกของการแข่งขันในปัจจุบัน องค์การจำเป็นต้องพัฒนาองค์การให้มีความสามารถในการแข่งขันระยะยาว หรือความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนด้วย
แนวความคิดเรื่อง Resource-Based View นี้เสนอว่าทรัพยากร (Resources) ที่องค์การมีอยู่มีส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนได้ โดยทรัพยากรนั้น ควรมีคุณลักษณะ 4 ประการที่สำคัญ ได้แก่ ประการแรก ทรัพยากรนั้นสร้างมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ทรัพยากรนั้นมีส่วนเพิ่มประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากสินค้าและบริการมากกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลุกค้าทั้งในเรื่องราคา และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สอง ทรัพยากรที่องค์การมีอยู่เป็นสิ่งที่หายาก นอกจากองค์การของเราเองแล้ว มีองค์การเพียงไม่กี่แห่งหรือไม่มีองค์การใดเลยครอบครองทรัพยากรนั้น ตัวอย่างเช่น การได้รับสิทธิบัตร (Patent) การได้รับสัมปทาน การผูกขาดในการผลิตสินค้า และบริการบางประเภท การเข้าถึงแหล่งเงินทุนราคาถูกรวมทั้งการที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความสามารถ มีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ประการที่สาม ทรัพยากรที่มีอยู่เป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบได้ยาก การที่จะมีคุณสมบัติเช่นนี้ได้ ทรัพยากรนั้นควรมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ (1) ทรัพยากรนั้นมีประวัติ ความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (Unique Historical Conditions) หมายถึง ความเป็นมาขององค์การที่สั่งสม ทำให้เกิดนโยบาย แนวทางปฏิบัติ และวัฒนธรรมเป็นการเฉพาะขององค์การเอง (2) มีความกำกวมในการระบุปัจจัยในการแข่งขัน (Casually Ambiguous) หมายถึง ไม่สามารถระบุถึงต้นแหล่งของความสามารถในการแข่งขันได้อย่างชัดเจน ทำให้ยากที่จะเลียนแบบและ (3) ทรัพยากรนั้นมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อน (Socially Complex) ตัวอย่างเช่น ภาพพจน์ขององค์การ ภูมิปัญญาขององค์การที่แสดงออกมาในรูปผลิตภัณฑ์ การบริหารที่มีคุณภาพโดดเด่นเหลือคู่แข่ง วัฒนธรรมองค์การ ความสัมพันธ์ในการงาน บรรยากาศในการทำงานที่ดี ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะ ยากที่จะเลียนแบบได้ และประการที่ สี่ ทรัพยากรที่มีอยู่มีการจัดระบบ (Organized ) ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเป็นทรัพยากรคน คนเหล่านั้นต้องสามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาประสานกับคนอื่นได จึงจะก่อให้เกดประโยชน์กับองค์กา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)