รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ยุคใหม่
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การจัดการ |
2. | การบริหารธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ภาวะความเสียเปรียบในการแข่งขันกำลังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจของคนไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นวิธีการค้าระหว่างประเทศ หรือแม้แต่การดำเนินธุรกิจภายในประเทศ คู่แข่งการค้าต่างชาตินับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ตัวอย่างกลุ่มธุรกิจที่ตกอยู่ในวิกฤต อาทิ การค้าปลีก อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถ้าหากพิจารณาให้ลึกซึ้ง ยังพบว่าธุรกิจไทยมีความสามารถอย่างแท้จริงในการผลิตสินค้าและบริการเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
ความสำคัญของการสร้างความสามารถในการแข่งขัน นับเป็นประเด็นที่สังคมไทยเพิ่งให้ความสำคัญเมื่อไม่นานมานี้ หากเปรียบเทียบกับนโยบายการสร้างสหรัฐอเมริกาให้เป็นชาติที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเมื่อประมาณ100ปีที่ผ่านมา โดยประธานาธิบดีรูสเวลล์ (Theodore Roosevelt, นโยบายดังกล่าวชักจูงให้ประชาชนคนที่ 26 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2444-2452 (ค.ศ.1901-1909)) นโยบายดังกล่าวชักจูงให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด อาจกล่าวได้ว่า วิวัฒนาการการจัดการสมัยใหม่ อันมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะสร้างประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทำให้เกิดการดำเนินงานขององค์กรต่างๆมีจุดเริ่มต้นจากนโยบายนี้เช่นกัน
เหตุที่กล่าวข้างต้น เนื่องจาก เฟรดริค เทเลอร์ (Frederick W. Taylor) ได้ขยายนัยของแนวคิดนี้ให้ครอบคลุมถึงวิธีการสร้างประสิทธิภาพ ให้กับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เทเลอร์ เน้นว่าการที่จะสร้างสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพนั้น ชาวอเมริกันนั้นเองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด หากทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษา และส่วนอื่นๆของสังคม สามารถทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นชาติที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างแน่นอน เทเลอร์ได้ศึกษาวิธีการทำงานของคน เพื่อที่จะเสนอแนวคิดใหม่ในการสรรหา และพัฒนาคนให้มีความสามารถในการทำงาน ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม จนกระทั่งเขาได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นหลักการจัดการที่ยังทรงคุณค่า เป็นพื้นฐานที่สำคัญของวิทยาการด้านวิศวกรรมอุตสาหการ และแนวคิดการจัดการสมัยใหม่อื่นๆในปัจจุบัน เช่นระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9000, ระบบการบริหารเพื่อสิ่งแวดล้อม ISO 14000 รวมทั้งการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Total Quality Management, TQM)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)