รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินมูลค่าตรายี่ห้อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การประเมินมูลค่าตรายี่ห้อ เป็นเรื่องที่ในอดีตมีการศึกษาและทำกันอยู่บ้างในทางบัญชีหรือการเงิน โดยมักมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำสำหรับการขายทอดหรือควบรวมกิจการ แต่ในวงการการประเมินราคาในประเทศไทยเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แต่ก็เริ่มเข้ามามีความสำคัญและได้รับการสนใจในวงการธนาคาร บริษัทประเมินราคา และองค์กรใหญ่ๆ มากขึ้นในช่วงปลายปี 2542 กรมโรงงานอุตสาหกรรมเจ้าของสิทธิในโรงงาน ที่ดินและเครื่องหมายการค้าสุรามากกว่า 40 ยี่ห้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “แม่โขง” สุราไทยที่มีอายุกว่า 100 ปี และเป็นตรายี่ห้อสุราที่เป็นที่รู้จักและชื่นชอบอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ได้ทำการประมูลขายทรัพย์สินดังกล่าวและได้มีการว่าจ้างบริษัทประเมินราคาประเมินมูลค่าตรายี่ห้อ ซึ่งมีการประมูลเฉพาะมูลค่ายี่ห้อแม่โขงยี่ห้อเดียวกว่า 2,000 ล้านบาท (ราคาประเมินรวมของตรายี่ห้อ ที่ดิน และโรงงาน 3,600 ล้านบาท) และมีผู้เสนอราคาสูงสุดในการประเมินถึงกว่า 8,216 ล้านบาท (เมื่อหักราคาที่ดินและโรงงานแล้ว ราคาตรายี่ห้อที่ถูกประมูลประมาณ5,000-6,000 ล้านบาท)
นอกจากนี้ทางกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้ความร่วมมือของสมาคมธนาคารไทย มีแนวคิดที่จะออกกฎหมายให้สถาบันการเงินตีมูลค่าสินทรัพย์ที่จะจับต้องไม่ได้ (เช่น ตรายี่ห้อ) เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันมูลหนี้ และในเชิงมาตรฐานการบัญชีก็เริ่มมีแนวคิดในการยอมรับมูลค่าทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ โดยแสดงไว้ในงบการเงินของบริษัท เพื่อสะท้องมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัท จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าหลักการในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (รวมถึงตรายี่ห้อด้วย) จะเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของภาคธุรกิจอย่างกว้างขวางของอนาคตอันใกล้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)