รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แนวทางการส่งเสริมหนังตะลุงสำหรับกลุ่มผู้รับสารวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
กิจกรรมในยามค่ำคืนสำหรับการสรรหาความบันเทิงของคนในชนบทภาคใต้นั้นนอกจากการพบปะพูดคุยกันระหว่างสมาชิกในชุมชนแล้วนั้น สื่อพื้นบ้าน เช่น มโนราห์ หนังตะลุง ก็ได้ทำหน้าที่ในการสร้างความบันเทิงได้ไม่น้อย แต่ทว่าปัจจุบันมีสื่อชนิดอื่นๆ อาทิเช่น สื่อมวลชน ได้เข้ามาเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ชมมากขึ้น จนบางครั้งทำให้พื้นที่ของสื่อพื้นบ้านลดขนาดลง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนต่างๆของสื่อมวลชนที่มีลักษณะเป็นสื่อเชิงรุก มีความเป็นทันสมัยใหม่เข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้ผู้เข้าชมมีทางเลือกมากขึ้นในการแสวงหาข่าวสารและความบันเทิง
แต่อย่าไรก็ตาม การเข้ามาของสื่อสมัยใหม่ก็ได้สร้างคุณูปการให้แก่สื่อพื้นบ้านได้ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากสื่อพื้นบ้านได้นำเนื้อหา (Content) จากสื่อมวลชนมาผสมผสานเข้ากับรูปแบบ (Form) เดิมของพื้นบ้าน เช่นการแสดงหนังตะลุงแบบปรับประยุกต์จาการผสมผสานดังกล่าวนี้ หากพิจารณาในอีกมุมมองหนึ่งก็สามารถเห็นได้ว่าเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้แก่ผู้ชมได้ สำหรับผู้เข้าชมที่ต้องการแสวงหาข้อมูลข่าวสารพร้อมๆ กับการได้แสดงความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
วัยรุ่นกับสื่อพื้นบ้านเป็นความสัมพันธ์ที่มักเป็นไปในทางตรงกันข้ามด้วยคุณลักษณะของทั้งสองที่อยู่กันคนละขั้วเนื่องจาก “วัยรุ่น” เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชอบและสนใจในความทันสมัย กอปรกับกลุ่มที่มีความพร้อมต่อการปลูกฝังและการสืบทอดวัฒนธรรม ในขณะที่สื่อพื้นบ้านประเภทหนังตะลุง และการที่จะทำให้หนังตะลุงตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มผู้รับสารวัยรุ่นบ้างนั้นจะมีความเป็นไปได้เพียงใด และจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมหนังตะลุง จึงเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องทำการศึกษาในครั้งนี้
ปัญหาในการทำวิจัยในครั้งนี้ จึงเป็นการแสวงหา ซ แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมการชมหนังตะลุงของกลุ่มผู้รัยสารวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)