รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: กรณีศึกษาการวางแผนการตลาดของภาพยนตร์ไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | รักศานย์ วิวัฒน์สินอุดม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย |
2. | อุตสาหกรรมภาพยนตร์ -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยด้านการจัดจำหน่ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างการผลิตและกระบวนการเข้าฉายด้วยกัน ซึ่งเน้นการวางแผนการตลาดตามทัศนคติของผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย ที่มีผลกระทบต่อรายได้ของภาพยนตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางแนวทางความช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการจัดจำหน่าย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างจำนวน 484 คน จากผู้เข้าชมภาพยนตร์ไทยในปี 2547 จากจำนวนทั้งสิ้น 43 เรื่อง ในโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 220 โรงภาพยนตร์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ แจกแจงร้อยละ ค่าเฉลี่ย T-test, One-way Anova, Pearson’s Correlation Coefficient และ Multiple Regression ประมวลผลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC
ผลการวิจัยพบว่าการวางแผนการตลาดสำหรับภาพยนตร์ไทยเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายคนดูขนาด ประเภท จุดขายของภาพยนตร์ และฉายในระยะเวลาที่เหมาะสม การวางแผนสื่อที่ดีมีผลต่อการตัดสินใจในการจูงใจให้ไปชมภาพยนตร์ไทย การใช้ตัวอย่างภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อป้ายโฆษณาบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ กระแสปากต่อปาก การวิจารณ์ภาพยนตร์ในแง่บวก ผู้กำกับ ดาราภาพยนตร์และการจัดอันดับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูง ล้วนส่งผลต่อการชักจูงคนมาชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ควรมีการใช้สื่อเฉพาะให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดต้นทุนการซื้อสื่อที่ไม่เป็นประโยชน์ และการไร้ประเมินผลการใช้สื่ออย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต
สำหรับผู้ชมส่วนใหญ่ คือ กลุ่มวัยรุ่น การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เพศหญิงชอบภาพยนตร์ผีและตลก ขณะที่เพศชายชอบภาพยนตร์แอ็คชั่นมากกว่า ส่วนภาพยนตร์ชีวิตทั้งเพศชายและเพศหญิงชื่นชอบเหมือนกัน และต่างต้องการชมภาพยนตร์ไทยเพื่อความสนุกบันเทิงมากกว่าเหตุผลด้านเนื้อหา ส่วนผู้ชมที่เป็นผู้ใหญ่มักไม่ค่อยนิยมชมภาพยนตร์ไทย แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากสร้างภาพยนตร์ไทยที่มีคุณภาพ ตลาดในประเทศจะตอบรับมากขึ้นและได้รับความสนใจจากตลาดตางประเทศด้วย นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนอย่างจริงจังคือนโยบายส่งเสริมภาพยนตร์ให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อเผยแพร่สินค้าทางเศรษฐกิจ และควรสร้างความเข้มแข็งในภาคของคนดูให้เป็นผู้แสวงเสพ ไม่ใช้ผู้รอเสพ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาขั้นสูงด้านการเขียนบทภาพยนตร์เพื่อภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)