รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
โลกทัศน์ของนักเขียนภาพสะท้อนจากเรื่องสั้นยุควิกฤตเศรษฐกิจ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | นักเขียน |
2. | นักประพันธ์ไทย -- ทัศนคติ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิเคราะห์ “วิธีคิด” และ “คุณค่า” ของนักเขียนที่ปรากฏจากเรื่องสั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พบว่า วิธีคิดและคุณค่าพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ วิธีคิดแบบทวินิยม, สัมพันธ์นิยม, การยอมรับว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว, การเห็นว่าความสุขอยู่ที่การบริโภคและการยึดถือคุณค่าแบบปัจเจกบุคคลนิยม อันเป็นวิธีคิด และคุณค่าที่ถูกรองรับด้วยโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ “ทุนนิยม” ซึ่งเรียนกว่า “โลกทัศน์นีโอคลาสสิก” (Neoclassical Worldview)
เมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540โลกทัศน์ของนักเขียนถูกกระทบน้อยมาก ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการประเมินผลกระทบของโลกทัศน์ต่ำเกินไป และแม้ว่านักเขียนจะเห็นภาพด้านลบของสังคมภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในโลกเสรีประชาธิปไตย แต่พวกเขาก็เห็นว่า นี่อาจเป็น “แบบฉบับของสังคมที่ดีที่สุด” ที่มีความเป็นไปได้ ในแง่นี้ผลงานการเขียนของพวกเขาจึงเป็นบทประพันธ์ที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์กระแสหลักและเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีปัจจุบัน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)