รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แนวพระราชดำริพระราชดำรัสพระมหากษัตริย์กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา) |
2. | พระราชดำรัส |
3. | การสื่อสาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
“แนวพระราชดำริพระราชดำรัสพระมหากษัตริย์กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์” ศึกษาพระมหากษัตริย์สิบสองพระองค์ในสองยุค โดยสำรวจปริบทในยุคสมัยของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์และผู้วิจัยได้เลือกวิเคราะห์แนวพระราชดำริและพระราชดำรัสที่สำคัญๆ ทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในกรอบแนวคิดของคัมภีร์ราชนีติและทศพิธราชธรรม และแนวคิดด้านการสื่อสารทางการปกครอง การสื่อสารทางการทูต การเจรจาต่อรองและจิตวิทยาการสื่อสารอันพระมหากษัตริย์ จักต้องใช้ ผลการวิจัยปรากฏว่า ในยุคที่ไทยต้องสูญเสียเมื่อเอกราช และต้องกู้เอกราชและแม้ในยุคกรุงใหม่และสถาปนาเมืองหลวง การสื่อสารเป็นไปในลักษณะเข้มแข็งมีลักษณะทั้งปลอมและปราม ตามแนวราชนีติ แต่พระเจ้าแผ่นดินยังทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมเสมอ ครั้นเมื่อไทยเกือบจะเสียเอกราชในยุคจักรวรรดินิยม การสื่อสารเปลี่ยนเป็นการเจรจาต่อรองในช่วงแรกในแนวสันติวิธี ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาไทยเป็นฝ่าย “รุก” คือ กระทำตอบบ้างและพระมหากษัตริย์เสด็จไปประชาสัมพันธ์ประเทศยังต่างแดนด้วยพระองค์เอง เมื่อปริบทเปลี่ยนแปลงไป พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์เข้าพระทัยถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เห็นถึงความมีอารยธรรมของสยามประเทศและหนึ่งในนั้นที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงนี้อาจกล่าวได้ว่าพระราชดำรัวของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์นำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตภายในประเทศหลายครั้งหลายคราว สรุปได้ว่าไม่ว่าจะเป็นการปกครองแบบใด ภายใต้สถานการณ์ใด พระมหากษัตริย์ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงคำนึงถึงราษฎรของพระองค์อยู่เสมอ โดยทรงใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายถอดพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยออกมาให้ราษฎรอยู่เป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)