รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชนกรณีศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | มงคล อุลมาร |
2. | ศรัทธา คัยนันทน์ |
3. | เกรียงศักดิ์ เจริญรัมย์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้รายงานผลของการวิจัยเชิงลึกการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพ โดยมีจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน ศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามหลักสูตรของกลุ่มวิชาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย วิชาตัดผมเสริมสวย วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิชาศิลปะประดิษฐ์ วิชาอาหารและโภชนาการและวิชาทั่วไป โดยใช้วิธีการสำรวจจากตัวอย่างผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ซึ่งเข้ารับการอบรมระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 จำนวน 399 คน เลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอาชีพตามกลุ่มวิชา และกำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน (Proportionate Stratified random sampling) จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มจะกำหนดให้เป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอาชีพในกลุ่มนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย สถิติเชิงอนุมารคือ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการศึกษา สรุปได้ว่าลักษณะส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษาและกลุ่มวิชาชีพที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีผลต่อการประเมินผลสัมฤทธิ์โดยรวม ณ ระดับน้อยสำคัญ 0.10 โดยกลุ่มวิชาที่เข้าอบรมมีลำดับความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์โดนรวมเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ระดับการศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การณ์จร เท่ากับ 0.239 และ0.210 ตามลำดับ แต่เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 จะพบว่ามีเพียงกลุ่มวิชาชีพที่เข้าอบรมการฝึกอาชีพเท่านั้นที่มีผลต่อการประเมินผลสัมฤทธิ์โดยรวม เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ โดยใช้การประเมินรูปแบบซิป(CIPP model) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลติ พบว่าด้านผลผลิตผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีค่าเฉลี่ยระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพในกลุ่มวิชาชีพที่ต่างกันจะแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ยระดับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มวิชาชีพที่ต่างกันไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน เมื่อพิจารณาจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของปัจจัยต่างๆ เมื่อกำหนดค่าน้ำหนักหรือความสำคัญของแต่ละปัจจัย/เรื่องโดยยึดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นหลัก สรุปได้ว่าโครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน วัดวรจรรยาวาส มีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์เท่ากับ3.73 จากค่าสูงสุด 5 หรือคิดเป็นค่าผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 74.62
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)