รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.อาธิ ครูศากยวงศ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลทั่วไปของประชากรตัวอย่างศึกษาระดับการนำแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เปรียบเทียบการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และศึกษาปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผสมผสานกับเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทดสอบเครื่องมือ 40 ตัวอย่าง ได้ค่าความเที่ยง0.9474 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 1, 200 ตัวอย่างและเก็บแบบสัมภาษณ์ จำนวน 90 ตัวอย่าง ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงและพบปะโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA ทดสอบอัตราส่วน ด้วย F-test และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยค่าไคสแควร์ เก็บตัวอย่างกลุ่มประชากรตัวอย่างจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎรธานี จาก 3 จังหวัด 25 อำเภอ 50 ตำบล และ 50 หมู่บ้านเพื่อการวิจัยผลการวิจัยมีดังนี้ 1.คุณลักษณะส่วนบุคคลทั่วไปของประชากรตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่ เพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่านับถือศาสนาพุทธ เป็นโสด มีจำนวนบุคคลในครอบครัวที่ต้องรับภาระเลี้ยงดู 3-4คน ประกอบอาชีพนักเรียน นักศึกษา พนักงาน ลูกจ้าง เกษตรกรรม มีรายได้รวมเฉลี่ยเดือนละ3, 001-5,000บาท ขนาดการถือครองที่ดินมากกว่า 5 ไร่ ไม่มีที่ดินของตนเอง ร้อยละ 47.25 เป็นคนในพื้นที่โดยกำเนิด และไม่ได้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม 2.ระดับการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมประกอบด้วยมิติ 5 ด้าน ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิติด้านเทคโนโลยีและมิติด้านจิตใจ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มจังหวัดมีการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัด อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.61 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ0.60 3.ผลเปรียบเทียบการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 กล่าวคือ จังหวัดชุมพรมีการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดมากกว่าจังหวัดระนองและสุราษฎร์ธานีขณะที่จังหวัดระนองมีการนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4.ผลการทดสอบสมมุติฐาน ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคลทั่วไปของประชากรตัวอย่าง กลุ่มจังหวัดชุมพรระนองและสุราษฎร์ธานี ที่มีความสัมพันธ์กับการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มศึกษา สถานภาพการสมรส และการประกอบอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ส่วนปัจจัยด้าน เพศ การนับถือ ศาสนา จำนวนบุคคลในครอบครัว ระดับรายได้ การถือครองที่ดิน ภูมิสำเนา และตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดดังกล่าว
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 121
หน้าที่ 47 - 62
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)