รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ผลตอบแทนสองต่อจากการปฏิรูปนโยบายภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องรอง Double-dividend from green tax reform
ชื่อผู้แต่ง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ภาษีสิ่งแวดล้อม
หัวเรื่องควบคุม
1.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
3.ภาษี
คำอธิบาย / บทคัดย่อ จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับการจัดหามาตรการที่จะร่วมกันกำกับดูแลเพื่อบรรเทาปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม ภาษีสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจที่จะนำมาใช้แก้ปัญหานี้เป็นอย่างมากวัตถุประสงค์หลักของการเรียกเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม คือ การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่นภาษีที่เรียกเก็บจากกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาษีที่เรียกเก็บเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการทำลายขยะ เป็นต้น ภาษีสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะถูกรวมเข้ากับต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงายสิ่งแวดล้อมได้ ได้มีการปฏิรูปนโยบายภาษีของประเทศตนเอง เพื่อนำรายได้จากภาษีสิ่งแวดล้อมล้อมไปชดเชยการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินประกันสังคม ทำให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น มีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีอัตราการจ้างงานสูงขึ้นอีกด้วย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 119 - 120
หน้าที่ 72 - 80
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)