รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Tourism behaviour and significant factors towards consuming decision in Thai Provinces along greater Mae Khomg Subregion
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.Wongwattana Sriprasert
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
หัวเรื่องควบคุม
1.นักท่องเที่ยว -- พฤติกรรม
2.ไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงบริบทการท่องเที่ยวในเขตลุ่มแม่น้ำโขงพื้นที่ 6 จังหวัดได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจำนวน 12 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 388 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 400 คน ได้มาโดยใช้สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม 2 ชุด ซึ่งแต่ละชุดใช้สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ .096 จากการคำนวณโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาตามแบบของครอนบาค ข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัยข้อที่ 1 โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณได้ถูกนำมาวิเคราะห์สำหรับวัตถุประสงค์ 2 ข้อที่เหลือ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน (t-test Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe) 1.ผลการวิจับข้อมูลเชิงบริบทการท่องเที่ยว พบว่ารัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนโดยควรมีการกำหนดชัดเจนและมีมาตรการต่างๆ ทั้งในด้านการส่งเสริม ด้วยการให้สิทธิพิเศษในการลงทุน ด้านกฎหมาย ด้านประชาสัมพันธ์ ตลอดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม โบราณสถาน และโบราณวัตถุ รวมถึงให้การศึกษาที่สอดคล้องอย่างบรูณาการกับประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลควรจัดเจ้าหน้าที่ประจำ 2.ผลการวิจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ปละความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง พบว่านักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ประกอบอาชีพค่าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และส่วนมากมีรายได้ 15,001 บาท ขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาท่องเที่ยวโดยเฉพาะ สำหรับสิ่งที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเข้าใช้บริการในแถบภูมอภาคนี้ เพราะได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจากวิทยุ/โทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งส่วนมากเดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว และใช้บริการเกสต์เฮาส์เป็นที่พักอาศัย ตลอดจนมีความสนใจประเภทธรรมชาติ ส่วนเรื่องพฤติกรรมการท่องเที่ยวนั้น โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความประทับใจที่ได้มาท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของการให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความเพียงพอในการให้บริการของสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านผลประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับจากการท่องเที่ยว มีความประทับใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว มีความประทับใจที่ได้มาท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง 6 จังหวัด ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด ตลอดจนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น 3.ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว พบว่า ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงโดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และนักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และศาสนา ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างของนักท่องเที่ยวไทย ที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวที่ไม่แต่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการเปรียบเทียบประชาชนที่อยู่ในพื้นที่พบว่า มีผลทางสถิติเช่นเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างเพศในทุกรายด้านและโดยรวม และระดับอายุเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวโดยรวม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาการนับถือศาสนา อาชีพ และรายได้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 119 - 120
หน้าที่ 1 - 20
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)