รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ: การศึกษาทฤษฏีฐานราก
ชื่อเรื่องรอง The school administration to be a quality school: the grounded theory approach
ชื่อผู้แต่ง
1.ทิวัตถ์ ศรีดำรง
2.แน่งน้อย ย่านวารี
3.สมคิด สร้อยน้ำ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ทฤษฎีฐานราก
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะ เงื่อนไข กระบวนการการเกิดขึ้น การดำรงอยู่และผลที่ตามมาจากปรากฏการณ์ การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฏี เพื่อการสร้างทฤษฏีฐานราก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ที่ทำการศึกษาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฏี เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีลักษณะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสารการสังเกตและจดบันทึก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารโรงเรียน ครู นักการภารโรงคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีแปลความหมาย ตีความหมาย แล้วสร้างผังมโนทัศน์โดย อาศัยความไวเชิงทฤษฏี และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป NVivo ในการจัดระบบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะของโรงเรียนคุณภาพ คือ โรงเรียนที่ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการร่วมมือกันระหว่างบ้านโรงเรียนและผู้ปกครอง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ผู้ปกครองและชุมชนยอมรับ และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. เงื่อนไขการเกิดเป็นโรงเรียนคุณภาพ แยกเป็น เงื่อนไขจากภายในโรงเรียนประอบด้วย 1) เงื่อนไขที่เกิดจากผู้บริหาร ได้แก่ การทำตัวเป็นแบบอย่าง การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ และมีภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) เงื่อนไขที่เกิดจากครูได้แก่ ครูมีความสามัคคี ครูมีความตระหนักในหน้าที่ 3. กระบวนการเกิดเป็นโรงเรียนคุณภาพเกิดจากกระบวนการบริหารงานของผู้บริหาร ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการบริหาร มีความมุ่งมั่นที่จะไปสู่ความสำเร็จ และการทำงานเป็นทีม 4. การดำรงอยู่ของการเป็นโรงเรียนคุณภาพ เกิดจาก 1) ความชัดเจนในการปฏิบัติงานประกอบด้วย ความเข้าใจและตระหนักในหน้าที่ของบุคลากร ความเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) ความผูกพันกับโรงเรียน ประกอบด้วย การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ความเอาใจใส่ต่องานในหน้าที่และการตรวจสอบและพัฒนากระบวนการทำงาน 5.ผลที่ตามมาจากการเป็นโรงเรียนคุณภาพ คือ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน นักเรียนได้รับการพัฒนาบรรลุตามเป้าหมายของโรงเรียน และมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มศว
ปีที่ 10
ฉบับที่ 18
หน้าที่ 52 - 60
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1685-2257
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)