รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Strategies of indentities of basic education in the north of Thailand
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล |
2. | สุวดี อุปปินใจ |
3. | ทศพล อารีนิจ |
4. | สุขาติ ลี้ตระกูล |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อัตลักษณ์ |
2. | อัตลักษณ์ -- การออกแบบ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน (2) กำหนดกลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน (3) ตรวจสอบกลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน โดยอาศัยกรอบการพัฒนากลยุทธ์ปรับปรุงจากแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์ของ Wheelen and Hunger เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ในการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบนที่ประสบความสำเร็จและได้ผลการประเมินคุณภาพนอกรอบสาม ปีงบประมาณ 2554 ในระดับดีมากทุกตัวบ่งชี้ จำนวน 2 แห่ง และแบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นบานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 แห่ง กำหนดกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis และ TOWS Matrix โดยผู้วิจัยและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันในการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบนด้านสภาพแวดล้อมภายนอก อยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมภายใน อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพปัจจุบันในการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การกำหนดอัตลักษณ์ องค์ประกอบของอัตลักษณ์ การปฏิบัติตามอัตลักษณ์ การประเมินอัตลักษณ์ และการธำรงรักษาอัตลักษณ์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับโครงสร้างและนโยบายเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 ปรับปรุงคุณภาพผู้เรียน กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงสื่อ แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 สร้างเครือข่ายการพัฒนา และการประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ที่ 5 สร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้กับผู้เกี่ยวข้องและชุมชน กลยุทธ์ที่ 6 ปรับกระบวนการทำงาน โดยใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (3) การตรวจสอบ กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า กลยุทธ์นั้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)