รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัถยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องรอง Consumer bahaviors and influential factors affecting the “brand” consumption of high school students in special tutorial schools in Pratumwan District. Bangkok
ชื่อผู้แต่ง
1.ปุณยพร กุลดา
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.พฤติกรรมการบริโภค
หัวเรื่องควบคุม
1.พฤติกรรมผู้บริโภค
2.ชื่อตราผลิตภัณฑ์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัถยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน ซึ่งเคยบริโภคหรือกำลังบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีจำนวน 405 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกหรือแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม /สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัย พบว่า ในด้านพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกวดวิชาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีประสบการณ์บริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” น้อยครั้ง (3-5 ครั้ง) มีค่าใช้จ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งน้อยกว่า 100 บาท ส่วนใหญ่รับประทานผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดชนิดน้ำสูตรต้นตำรับ มีความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 เดือน/ครั้ง และเหตุผลสำคัญที่รับประทาน คือ เพื่อบำรุงร่างกายและสมอง บุคคลในครอบครัวมีส่วนช่วยให้คำปรึกษาและช่วยตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มากที่สุด สำหรับช่วงเวลาที่รับประทานผลิตภัณฑ์คือ ช่วงใกล้สอบ โดยซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านค้าสะดวกซื้อ/เซเว่น อีเลฟเว่น และสื่อที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มากที่สุด คือ สื่อทางโทรทัศน์ในการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการตลาด ปัจจัยด้านสังคม และวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่า ด้านสังคม (กลุ่มอ้างอิง) และด้านวัฒนธรรม (วัฒนธรรม,ชั้นสังคม) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ “แบรนด์” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 6
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 74 - 86
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)