รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Sarbanes - oxley act และการกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศสู่ธรรมาภิบาลในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การกำกับดูแลกิจการในต่างประเทศ |
2. | ธรรมาภิบาลในประเทศไทย |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
2. | ธรรมรัฐ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
Sarbanes-Oxley หรือ SOX คือ กฎหมายบังคับใช้กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เพื่อปกป้องนักลงทุนจากการตกแต่งบัญชีของบริษัท เพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบของ CEOและCFOในเรื่องการควบคุมภายในและการรับรองความถูกต้องของการรายงานข้อมูลทางการเงิน โดยมีสาระสำคัญของกฎหมาย 5 เรื่องด้วยกัน คือ 1. ความรับผิดชอบขององค์กรต่อรายงานทางการเงิน 2. การเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำงวด 3.ปการประเมินการควบคุมภายในของฝ่ายบริหาร 4. การเปิดเผยข้อมูลปัจจุบันของผู้ออกตราสารและ 5. บทลงโทษของการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องมีความรับผิดชอบต่อความถูกต้องของงบการเงินและมีการเปิดเผยอย่างเพียงพอ ต่อมาประเทศญี่ปุ่นได้มีแนวทางในการกำกับดูแลโดยใช้ชื่อว่า Japanese Sarbanes-Oxley หรือ J-SOX และประเทศในแถบยุโรปใช้ชื่อว่า European Sarbanes-Oxley ซึ่งหลักการกำกับดูแลไม่แตกต่างกับ Sarbanes-Oxley
เท่าใดนักในขณะที่ประเทศไทยเริ่มนำหลักการกำกับดูแลมาใช้ยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ปี พ.ส. 2540 ที่ต้องกู้เงิน IMF อันเป็นเงื่อนไขที่ประเทศสมาชิกที่ขอกู้เงิน จะต้องมีระบบการกำกับดูแลตามข้อกำหนดและยับตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยก็ได้พัฒนาการกำกับดูแลกิจการมาโดยตลอด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ยึดแนวทางการกำกับดูแลตามองค์การเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (OECD) และได้มีการปรับปรุงใน พ.ศ.2555 ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ASEAN CG Scorecard เพื่อใช้วัดระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มประเทศ ASEAN ซึ่งงานวิจัยหลายผลงานพบว่า การกำกับดูแลสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในองค์กรช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัยในระดับสากลอีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจได้อย่างยิ่งยืน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)