รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ศักยภาพของกองเรือพาณิชย์ไทยในการจัดการน้ำอับเฉาเรือ
ชื่อเรื่องรอง The potential of Thai merchant fleet in ballast water management
ชื่อผู้แต่ง
1.เอกบุรุษ ช้างใหญ่
2.กฤษณา วิสมิตะนันทน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การจัดการน้ำอับเฉาเรือ
2.ระบบบำบัดน้ำอับเฉา
หัวเรื่องควบคุม
1.เรือพาณิชย์
2.น้ำอับเฉา -- การจัดการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอน ปี ค.ศ.2004 ได้มีการวิเคราะห์และอภิปรายในประเด็นสำคัญที่หลากหลายและมุมมองที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และนโยบายของประเทศต่างๆ เช่น มาตรฐานของระบบบำบัดน้ำอับเฉาและการบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา (International Maritime Organization, 2012b, 2012a) หรือบทบาทของสถาบันการเงินในสหภาพยุโรป เป็นต้น (International Maritime Organization, 2011e) ซึ่งยังไม่มีการศึกษาใดที่เกี่ยวข้องกับบริบทของประเทศไทยดังนั้นความมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมการปฏิบัติในด้านต่างๆ เพื่อรองรับอนุสัญญาฯ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริษัทสายเรือของประเทศไทย โดยงานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในบริษัทสายเรือไทยจำนวนทั้งสิ้น 8 บริษัท โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงและกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าที่มีเส้นทางเดินเรือไปทั่วโลกจำนวนอย่างละ 4 บริษัท การเก็บข้อมูลนั้นดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 55 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า บริษัทสายเรือต่างๆ ในกองเรือพาณิชย์ไทยมีระดับความพร้อมและการเตรียมการปฏิบัติเพื่อรองรับอนุสัญญาฯ ที่สามารถนำเสนอได้เป็น 4 ด้านสำคัญดังนี้ คือ 1) ด้านบุคลากร บุคลากรพาณิชย์นาวีของไทยมีความรู้ในการจัดน้ำอับเฉาเรืออยู่ในระดับที่ดี 2) ด้านงบประมาณเฉพาะบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกบางแห่งเท่านั้นที่มีการเตรียมการและมีความพร้อมด้านงบประมาณไว้ 3) ด้านตัวเรือ ปัจจุบันกองเรือพาณิชย์ของไทยมีความพร้อมในด้านงานธุรการและการปฏิบัติในการเปลี่ยนถ่านน้ำอับเฉาตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ แต่ยังขาดความพร้อมในการบำบัดน้ำอับเฉาเรือ กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าภายในประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญและขาดการเตรียมการที่ดี และ4) ด้านมาตรการในการบริการจัดการ ในขณะที่กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกมีความตื่นตัวมาก จึงได้กำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในหลายประเด็นและมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทางเทคนิคของเรือในกองเรือและบางแห่งมีการจัดหางบประมาณที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้วจากสภาพความพร้อมในปัจจุบันจึงนำสู่การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อมในแต่ละด้านและนำไปให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น โดยพิจารณาที่ตัวเกณฑ์ความสำคัญของแนวทางและความง่ายในการนำไปปฏิบัติเพื่อจัดระดับความเร่งด่วนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 35
ฉบับที่ 137
หน้าที่ 1 - 30
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)