รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความคิดเห็นของครูในอำแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง Opinion of teachers in Amphur Maelanoi, under The Office of Maehongson Primary Education Service Area 2 toward the operation on functional competencies of The Office of Basic Education Commission
ชื่อผู้แต่ง
1.สุธินันท์ วิมาลัย
2.จินดา ศรีญาณลักษณ์
3.เจตนา เมืองมูล
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2
หัวเรื่องควบคุม
1.ครู -- ทัศนคติ -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความความ และข้อเสนอแนะของครูในอำเภอแม่ลาน้อยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 280 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา2555 โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x ?) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีความคิดเห็นอันดับแรก ได้แก่ การบรอหารจัดการชั้นเรียน รองลงมา การพัฒนาผู้เรียน และภาวะผู้นำครู ตามลำดับ 2. ความคิดเห็นของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามเพศ อายุ วิทยฐานะ และประสบการณ์ในการทำงานในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3.ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของครู รายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีข้อเสนอแนะอันดับแรก ได้แก่ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ รองลงมาการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ ภาวะผู้นำครู ตามลำดับ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 8
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 98 - 112
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)