รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ
|
ชื่อเรื่องรอง |
The development of instructional model for Thai language reading comprehension for students of Yunnan University of Nationalities based on ACTIVE reading theory and cooperative learning principles
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | Yang Lizhou |
2. | วิมลรัตน์ จตุรานนท์ |
3. | สุนทร บำเรอราช |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน |
2. | ภาษาไทย -- การอ่าน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมและศึกษาเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยพัฒนารูปแบบการสอนจากข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบการสอน หลักสูตรภาษาไทย แนวการสอนแบบ ACTIVE Reading ทฤษฏีการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประชากรได้แก่ นักศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ภาควิชาภาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาไทยเพื่อความเข้าใจ และ 3 ) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการสอน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการสอน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการสอน
ผลการวิจัยพบว่า
1.ได้รูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติ ยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบได้แก่ หลักการจุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยมีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก ( x ?=3.79 SD=0.36)
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3.ผลการศึกษาเจตคติของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยรวมภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วย( x ?=4.11 SD=0.46)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)