รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
มาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ
|
ชื่อเรื่องรอง |
The legal measures for eliminating narcotics consumption
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ยาเสพติด -- การควบคุม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหามาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติดให้โทษของประเทศไทย 2)เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามยาเสพติดให้โทษของประเทศ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ
วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความทางวิชาการ กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา
ผลการวิจัยสรุปแนวทางการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการปราบปรามยาเสพติด ดังนี้ (1) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ร่วมกันกระทำความผิด ควรนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 และ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2551 มาใช้ร่วมกับหลักการร่วมกันกระทำความผิดตามกฎหมาย Racketeer Influenced and Corrupt Organization Statue (RICO) และ Continuing Criminal Enterprise Act (CCE) มาใช้เสริมหลักตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ในประมวลกฎหมายอาญา (2) มาตรการเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน ได้แก่ หลักการริบทรัพย์สินทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักการริบทรัพย์สินทางอาญากึ่แพ่งตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 และหลักการริบทรัพย์สินทางแพ่งตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2551 มาใช้เสริมกันเช่นเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ใช้หลักการริบทรัพย์สินทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาและหลักการริบทรัพย์สินทางแพ่งตามกฎหมาย Racketeer Influenced and Corrupt Organization Statue (RICO) มาใช้เสริมกัน (3) พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2551 มาตรา 46 และ พ.ร.บ. การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 25 ได้กำหนดมาตรการในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเจ้าพนักงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีข้อจำกัด คือ ต้องเป็นข้อมูลที่ใช้ในการกระทำความผิดเฉพาะฐานความผิดที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น หากเป็นข้อมูลอื่นๆไม่อาจนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ จึงเห็นควรนำมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)