รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย |
2. | ถาวร สกุลพาณิชย์ |
3. | พัชนี ธรรมวันนา |
4. | อุทุมพร วงษ์ศึลป์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ต้นทุน |
2. | ค่ารักษาพยาบาล -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ประเทศไทยได้ดำเนินการปฏิรูปการบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้ข้อมูลทางบัญชีในการวัดประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ต้นทุนต่อหน่วยหนึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดประสิทธิภาพหน่วยงานตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) อย่างไรก็ดีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ มีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกันตามลักษณะพิเศษของหน่วยงาน โรงพยาบาลของรัฐเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการศึกษาและคำนวณต้นทุนต่อหน่วยมานานแล้ว งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลระบบบัญชีจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐสามแห่งเพื่อใช้วิเคราะห์เตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้สามารถคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของการรักษาพยาบาลได้ ผลการศึกษาพบว่าระบบบัญชีของโรงพยาบาลของรัฐมีความแตกต่างกันมากและยังมุ่งเน้นการบันทึกบัญชีเพื่อจัดทำงบประมาณและรายงานการเงิน ทำให้การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยเพื่อประเมินประสิทธิภาพเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงต้องการปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลให้เออำนวยกับการจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยมากขึ้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)