รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แนวคิดใหม่ในการสร้างผลลัพธ์ในองค์กร
|
ชื่อเรื่องรอง |
New concept to build organizational outcome
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประสิทธิผลองค์การ |
2. | การประเมินผลงาน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
นักวิจัยในสถาบันวิจัยและคณาจารย์ตามสถานบันอุดมศึกษาทั่วโลก ได้คิดค้นหาวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือการสร้างผลลัพธ์ นับตั้งแต่การให้สิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินแก่บุคลากรในองค์กร วิธีการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานรวมทั้งการกำหนดเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์ในกรอบของ (Balanced Scorecard)(พสุ เตชะรินทร์,2544) แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดที่ผ่านมาในอดีต การสร้างผลลัพธ์ (Performance) ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาที่ยังไม่มีวิธีการที่บรรลุผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้มีการศึกษาวิจัยอย่าต่อเนื่องเพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างผลลัพธ์
จนกระทั่ง Zaffron และ Logan (2009) ได้เสนอแนวคิดใหม่ในการสร้างผลลัพธ์ในองค์กรที่เรียกว่า “กฎสามประการของการสร้างผลลัพธ์” ซึ่งถือว่า เป็นการพลิกแนวคิดหรือมุมมองในการสร้างผลลัพธ์ในองค์กร
วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการฉบับนี้ คือ การอธิบายกฎสามประการในการสร้างผลลัพธ์ดังกล่าว ในส่วนของลำดับของหัวข้อมีดังนี้คือ หัวข้อที่2 ถัดไป ยกตัวอย่างสภาพแวดล้อมขององค์กรโดยทั่วไป หัวข้อที่ 3 อธิบายการดำรงอยู่ของปัญหาและสภาพแวดล้อมที่ไม่พึ่งปรารถนา ซึ่งเชื่อมโยงมาถึงหัวข้อที่ 4 ที่กล่าวถึง กฎสามประการของ Zaffron และLogan (2009) โดยเชื่อมโยงกับตัวอย่างที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 2 ส่วนหัวข้อที่5 เป็นบทส่งท้ายที่ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดใหม่การสร้างผลลัพธ์ในองค์กรดังกล่าวในบางประเด็นมีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดทางพุทธศาสนา สำหรับผู้ที่สนใจตัวอย่างใน Zaffron และLogan (2009) จะมี 6 ตัวอย่าง ได้แก่ Lonmin pic. Platinum Mining Operator, South Africa (เริ่มหน้า3) ; Northrop Grumman, Aerospace Operator, USA (เริ่มหน้า14); Polus Group, Real Estate Business, Japan (เริ่มหน้า 33); Harvard Business School, USA (เริ่มหน้า 51) ; BHP New Zealand Steel , New Zealand (เริ่มหน้า65)และ Tintaya Cooper Mine , Peru (เริ่มหน้า 76)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)