รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนโดยใช้การบริหารแบบสมดุล: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรีจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องรอง Participatory action research of school administration using balanced scorecard approach: A case study of Anuban Phayahakiri School Nakornsawan Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ขรรค์ชัย อ่อนมี
2.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารแบบมีส่วนร่วม
2.โรงเรียน -- การบริหารแบบมีส่วนร่วม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์เทคนิคการบริหารแบบสมดุล (Balanced scorecard) มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อศึกษากระบวนการบริหารแบบสมดุลที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน และเพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารแบบสมดุลในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research: PAR) ตามแนวคิดของ Kemmis and Mc Taggart (1988) กระบวนการวิจัยมี 5 ระยะได้แก่ 1) ระยะเตรียมการวิจัย 2) ระยะการศึกษาปัญหาและความต้องการ 3) ระยะการจัดทำแผน 4) ระยะการนำแผนไปปฏิบัติและการติดตามผล และ 5) ระยะการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีกลุ่มผู้ใ้ห้ข้อมูลหลักที่มาจากตัวแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 29 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ตัวแทนครู 5 คน ตัวแทนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 10 คน และตัวแทนนักเรียน 10 คน คณะผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดในแต่ละรอบมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการประชุมระดมพลังสมอง (Brain storming) สนามการวิจัยโดยใช้โรงเรียนอนุบาลพยุพะคีรี จังหวัดนครสวรรค์เป็นกรณีศึกษา การประยุกต์เทคนิคการบริหารแบบสมดุลมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนที่้เหมาะสมมี 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองด้านนักเรียน มุมมองด้านกระบวนการภายใน มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา และมุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร ส่วนกระบวนการบริหารแบบสมดุลที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนหลังจากจัดเตรียมความพร้อมแล้ว มี 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของโรงเรียนและบริบทโดยรวม 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) จัดทำแผนที่กลยุทธ์ 4) การจัดทำ Scorecard 5) การจัดทำและทบทวนตัวชี้วัด 6) กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ 7) จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด 8) จัดทำกลยุทธ์ในการปฏิบัติการ 9) การนำแผนสู่การปฏิบัติ และ 10) การประเมินผล ส่วนประสิทธิผลของการบริหารแบบสมดุลในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลพยุหะคีรี พบว่า สามารถดำเนินงานที่ส่งผลให้ตัวชี้วัด (KPI) ประสบความสำเร็จ 13 ตัวชี้วัด ส่วนที่ดำเนินการแล้วได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 5 ตัวชี้วัด และพบปัจจัยแห่งความสำเร็จ 4 ประการ คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2)ทักษะทางการบริหาร 3) กระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม PAOR ที่เป็นพลวัติ (Dynamic) และ 4) การพัฒนาที่เป็นระบบมีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยทุกกระบวนการเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 4
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 11 - 25
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)