รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การรับรองสถานภาพการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การเลือกปฏิบัติทางเพศ |
2. | สิทธิมนุษยชน |
3. | การสมรส -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย |
4. | รักร่วมเพศ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การยืนติดมุ่งมองของทางสรีรศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์เป็นหลักในการตีความร่างกายมนุษย์ ทำให้กฎหมายไทยรับรองเพศของบุคคลว่ามีเฉพาะเพศชายและเพศหญิง โดยถือตามเพศที่กำเนิดมาและจะเป็นเช่นนั้นไปตลอดชีวิต ส่งผลให้สถานภาพการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายไทยหมายถึงเฉพาะการสมรสระหว่างชายโดยกำเนิดหนึ่งคนในฐานะที่เป็นสามีและหญิงโดยกำเนิดหนึ่งคนในฐานะที่เป็นภริยาเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าในสังคมประกอบด้วยบุคคลที่มีรสนิยมทางเพศหรือเพศวิถีที่หลากหลาย แต่กฎหมายไม่รับรองให้ทำการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มบุคคลที่มีเพศเดียวกัน เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ต้องเสียสิทธิตามกฎหมายหลายประการที่กำหนดไว้สำหรับคู่สมรสต่างเพศ จึงมีประเด็นให้พิจารณาตามมาว่า การที่กฎหมายไม่รับรองสถานภาพการสมรสของบุคคลเหล่านี้จะขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างเรื่องเพศ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 หรือไม่ ดังนั้น จึงอาจถึงเวลาแล้วกฎหมายไทยจะพิจารณาถึงความต้องการของคนไทยที่จะจดทะเบียนสมรมรสอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ เพื่อขจัดอุปสรรคและปัญหาต่อการดำรงชีวิตตามเพศวิถีของบุคคลให้หมดไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)