รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การออกแบบเสียงเพื่อสร้างศานติภาวะในการแสดงจากผลงานของซามูแอล เบ็คเก็ต และโอตะ โชโกะ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ณฐพงษ์ เธียรสวัสดิ์กิจ |
2. | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ศิลปะการแสดง |
2. | ละคร -- การกำกับเวที |
3. | ละคร -- เสียง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการออกแบบเสียงเพื่อสร้างศานติภาวะในการแสดง จากผลงานของซามูแอล เบ็คเก็ต และโอตะ โชโกะ รวมทั้งความคิดเห็นของนักแสดง และผู้ชม ที่มีตอศานติภาวะอันเนื่องมาจากการแสดง โดยเนื้อหาต่างๆ ที่ปรากฏในบทความ เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งจากงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์เรื่อง “การออกแบเพื่อสร้างศานติภาวะในการแสดงจากผลงานของซามู แอลเบ็คเก็ตและโอตะ โชโกะ” ผู้เขียนเก็บข้อมูลจากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเชิงสุนทรียะ อันประกอบด้วย กาศึกษาศานติภาวะ ศึกษาดูงานวรรณกรรม ดัดแปลงงานวรรณกรรม การออกแบบ สร้างสรรค์ บันทึกและประสานเสียง รวมทั้งการบันทึกภาพ การฝึกซ้อมและการแสดงใช้แบบสอบถาม การเสวนากลุ่ม โดยกลุ่มผู้ชมมีทั้งผู้ที่มีสายตาปกติและผู้พิการทางสายตา ผลการศึกษาพบว่า ละครเสียงและละครเวทีที่มช้ระบบเสียงรอบทิศทางสามารถสื่อสารประเด็นในการนำเสนอได้ โดยผู้ออกแบบเสียงควรเข้าใจเนื้อเรื่องและเลือกบทละครที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมและศักยภาพในการรับรู้ของผู้ชม สร้างบรรยากาศที่มีความเหมาะสมในการรับชมและคำนึงถึงคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ ผลการศึกษาด้านการแสดงของนักแสดง พบว่าการสร้างละครเวทีที่ใช้ระบบเสียงรอบทิศทาง สามารถส่งเสริมการแสดงของนักแสดง โดยผู้สร้างสรรค์การแสดงควรมีความเข้าใจถุงลักษณะการแสดงประเภทนั้นๆ ผลความพึงพอใจและความคิดเห็นของผู้ชม พบว่า ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อองค์ประกอบด้านเสียงและระบบเสียงรอบทิศทางมากกว่าองค์ประกอบด้านตัวบทและการแสดงของนักแสดง ผู้ฟังที่พิการทางสายตามีความสามารถในการสร้างภาพในจินตนาการ สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีกว่าผู้ฟังสายตาปกติ เมื่อรับฟังละครเสียง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)