รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การเล่าเรื่องและการสร้างลักษณะตัวละครในภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่มีตัวเอกเป็นสตรีจากเทพปกรณัมกรีก
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ณัฐพร ลิ้มประสิทธิ์วงศ์ |
2. | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและลักษณะตัวละครสตรีในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เทพปกรณัมกรีกที่มีตัวเอกเป็นสตรี เป็นการวิจัยโดยศึกษาเนื้อหาหรือวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) เพื่อสังเคราะห์หากลวิธีการเล่าเรื่องและลักษณะของตัวเอกสตรี โดยศึกษาภาพยนตร์นานาชาติจำนวน 8 เรื่อง และละครโทรทัศน์จำนวน 4 เรื่อง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1 การเล่าเรื่องในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1 ภาพยนตร์เทพปกรณัมกรีกที่ยึดตามบทละครเทพปกรณัมดั้งเดิม คือ ภาพยนตร์ที่ยึดองค์ประกอบการเล่าเรื่องตามบทละครเดิมอย่างชัดเจนได้แก่ Antigone ( Yorgos Javallas, 1961 กรีซ)ม Electra (Mihalis Kakogiannis, 1962 กรีซ), The Trojan Women (Mihalis Kakogiannis,1971 กรีซ) และ Iphigenia (Mihalis Kakogiannis, 1977 กรีซและอังกฤษ ) 1.2 ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เทพปกรณัมกรีกที่มีการเล่าเรื่องแบบผสม คือภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่นำข้อมูลของตำนานเทพปกรณัมมาจากหลายแห่งและมีการนำมาตีความใหม่ โดยรักษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องไว้บางส่วนได้แก่ Helen of Troy (Robert Wise , 1956 อเมริกา), Helen of Troy (John Kent Harrison, 2003 อเมริกา ), Medea (Pier Paolo Pasolini, 1969 อิตาลี) และ Medea (Lar Von Trier, 1988 เดนมาร์ก ) 1.3 ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์กรีกที่ได้รับอิทธิพลเค้าโครงเรื่องจากเทพปกรณัมกรีก คือภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่นำเค้าโครงจากเทพปกรณัมมาสร้างสรรค์และตีความใหม่โดยรักษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องเดิมไว้เป็นส่วนน้อย ได้แก่ เพลิงพิศวาส (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล, 1984 ไทย) ชั่วฟ้าดินสลาย (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล, 2010 ไทย) Medea ( Theo Van Gogh, 2005 เนเธอร์แลนด์ ) และ Mourning Becomes Electra ( Nick Havinga, 1978 อเมริกา)
2.ลักษณะของสตรีที่ปรากฏออกมาตามการสร้างสรรค์ มี 4 แบบ ได้แก่ 2.1 ลักษณะของวีรสตรี คือ ผู้หญิงที่ยอมสละชีวิตเพื่อชาติ ได้แก่ อิฟิเจไนอาและแอนทิโกเน 2.2 ลักษณะของสตรีที่เป็นเหยื่อ คือ ผู้หญิงที่ตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ แบ่งได้เป็นสี่ประเภท ดังนี้ 2.2.1 สตรีที่เป็นเหยื่อของสงคราม ได้แก่ เฮคิวบา อันโดรมาคี และคัสแซนดรา 2.2.2 สตรีที่เป็นเหยื่อจากปัญหาภายในครอบครัว ได้แก่ อิเล็กทรา และลาวินิอา 2.2.3 สตรีที่เป็นเหยื่อจากเพศสภาพ ได้แก่ มีเดีย (1988)และเฮเลน (2003) 2.2.4 สตรีที่เป็นเหยื่อของบุรุษเพศ ได้แก่ มีเดีย(1969) และมีเดีย (2005) 2.3 ลักษณะของสตรีที่มีพลังเหนือบุรุษเพศ คือ ผู้หญิงที่ใช้ลักษณะพิเศษ ที่สามารถดึงดูดเพศตรงข้าม ได้แก่ เฮเลน ( 1971) ปรารถนา และยุพดี และ 2.4 ลักษณะของสตรีที่มีความสมบูรณ์แบบ คือ ตัวละครที่มีความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน ได้แก่ เฮเลน ( 1956)
ความสำคัญ : เทพปกรณัมกรีก/สตรี/ภาพยนตร์/ละครโทรทัศน์/การเล่าเรื่อง/ลักษณะตัวละคร
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)