รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัยเพื่อสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก จากกวีนิพนธ์ของ รพินทรนาถ ฐากูร
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.รัชฎาวรรณ รองทอง
2.ถรินันท์ อนวัชศิริวงศ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก
หัวเรื่องควบคุม
1.นิเวศวิทยา -- ปรัชญา
2.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแปลงสื่อจากกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร สู่การแสดงร่วมสมัยเพื่อการสื่อสารปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแสดงร่วมสมัยจากการดัดแปลงกวีนิพนธ์ของรพินทรนาถ ฐากูร ของทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ชมทั่วไป และเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้ชมต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก โดยการเสวนาหลังการแสดงและสำรวจทัศนคติจากแบบสอบถาม จากการแสดงทั้ง 3 รอบมีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 27 คน และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 76 คน การสร้างสรรค์การแสดงร่วมสมัย “โอ้โลกที่รัก” เริ่มกระบวนการตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 กวีนิพนธ์ที่นำมาใช้ประกอบด้วยเรื่อง “โอ้โลกที่รัก” (“Earth” ประพันธ์ในปี พ.ศ.2479) โดยมีบทกวีจากเรื่องอื่นๆ ประกอบได้แก่ คีตาญชลี และนกเถื่อน นำมาร้องเรียง โดยนำเสนอแก่นสารคือการกระทำต่างๆ ของมนุษย์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการทำลายสมบูรณภาพของโลก จนท้ายที่สุดมนุษย์เองก็จะเป็นผู้ที่รับผลกระทบนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รูปแบบของการแสดงใช้จินตลีลาประกอบการอ่านบทกวี โดยมีนักแสดงทั้งเพศหญิงและชายเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ไม่ระบุสถานที่และยุคสมัยเพื่อสื่อว่าสามารถเกิดได้ทุกที่บนโลก การออกแบบลีลามุ่งสื่อสารความหมายและสะท้อนอารมณ์ของกวีนิพนธ์ในแต่ละช่วง ผลการวิจัยพบว่าผู้ชมมีทัศนคติต่อองค์ประกอบในการแสดงอยู่ในเกณฑ์ดี องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุด 3 อันดับคือ 1)ดนตรีประกอบ 2)นักแสดงและการออกแบบแสง 3)ประเด็นเนื้อหา(x ?=4.39, 4.25/ S.D.= 0.68, 4.25/S.D. = 0.71 และ4.24 ตามลำดับ ) และจากการเสวนา เห็นว่าการแสดงในครั้งนี้ทำให้บทกวีมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เห็นว่าการแสดงช่วยให้สามารถเข้าใจประเด็นเนื้อหาของบทกวีได้ง่ายขึ้น แก่นสาร จากการแสดงทำให้ผู้ชมเห็นความเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกธรรมชาติเสียสมดุลยภาพ ผลจากการวิจัยยังพบว่าการรับรู้ต่อปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึกอยู่ในเกณฑ์มาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) ชีวิตหนึ่งๆ คือธุลีอันน้อยนิดของโลก 2)ชีวิตมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นพลวัตของโลกและ 3)เมื่อมนุษย์ทำร้ายโลก โลกย่อมทำร้ายมนุษย์ฉันใดก็ฉันนั้น (x ? = 4.29ม 4.28และ 4.25 ตามลำดับ) ส่วนอีก 3 อันดับที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ เมื่อโลกถูกรบกวนให้เสียสมดุล พิบัติภัยทางธรรมชาติคือการปรับสมดุลของโลก, บูรณาภาพของโลกคือการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งบวกและลบ และความละโมบของมนุษย์นำไปสู่การกอบโกยประโยชน์จากสรรพสิ่ง (x ? = 4.22, 4.21 และ 4.20 ตามลำดับ)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 55 - 75
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)