รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสื่อสาร “วิกฤตอัตลักษณ์” ในนวนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ และเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วัชรี เกวลกุล |
2. | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปลักษณ์การเล่าเรื่องในนวนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ และศึกษาสหบทการสื่อสาร “วิกฤตอัตลักษณ์” ในนวนิยายของมูราคามิ ร่วมกับเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของกลุ่มนักเขียนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาตัวบทนวนิยาย 10 เรื่องของมูราคามิ และเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของไทยโดย อนุสรณ์ ติปยานนท์ ปราบดา หยุ่น และฟ้า พูลวรลักษณ์ ที่เสนอวิกฤตอัตลักษณ์เป็นแก่นเรื่องหลัก ร่วมกับการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกแฟนหนังสือของมูราคามิชาวไทย พบว่า 1) รูปลักษณ์การเล่าเรื่องในนวนิยายของมูราคามิ เสนอกลุ่มตัวละครอ้างอิงมิติความสัมพันธ์กับฉาก เพื่อผูกโครงเรื่องการหลบหนีจากอัตลักษณ์ อันบกพร่องของกลุ่มตัวละครเอกในพื้นที่ ‘บ้าน’ ภายใต้อิทธิพลจาก ‘บริบททางสังคม’ ของศัตรูชาย เข้าสู่ ‘ดินเดนในอุดมคติ’ ที่ซึ่งมีภาพสมบูรณ์ของอัตลักษณ์ดำรงอย่า โดยมีตัวละครพิเศษเปิดทางเชื่อมให้ตัวเอกลุล่วงเข้าสู่โลกภายใน ‘จิต’ อ้างอิงคุณสมบัติเป็นพลวัตของ ‘น้ำ’ ตามแนวคิดอัตลักษณ์แบบหลังสมัยใหม่นิยม 2 ) การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสาร “วิกฤต อัตลักษณ์” ในนวนิยายของมูราคามิสือเนื่องจากแนวคิดอัตลักษณ์สวมใส่จากภายนอก แนวคิดชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงโฉมครั้งแล้วครั้งเล่า แนวคิดการเคลื่อนย้ายอัตลักษณ์ออกจากความจริง และแนวคิดการเผชิญหน้ากับอัตลักษณ์คือความโดดเดี่ยว เหล่าตัวละครจึงล้มเหลวในการกอบกู้อัตลักษณ์ 3)สหบทการสื่อสาร “วิกฤต อัตลักษณ์” ระหว่างนวนิยายของมูราคามิ กับเรื่องสั้นแนวหลังสมัยใหม่ของกลุ่มนักเขียนไทย เสนอปัจเจกในบทบาทของผู้หลบหนีและแสวงหาอัตลักษณ์ใช้สัญญะร่วมในการสื่อความสื่อความหมายและวิพากษ์วิกฤตอัตลักษณ์อันเนื่องจากบริบททางสังคมหลังสมัยใหม่ 4) นวนิยายของมูราคามิมีเอกลักษณ์ที่ครองใจนักอ่านชาวไทยได้คือ จินตนาการอันแปลกพิสดาร
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)