รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การเปิดรับสมัครสื่อต่างๆ และข้อความสาระสำคัญ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กับการปรับพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหารและน้ำ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | มลินี สมภพเจริญ |
2. | นิรันตา ไชยพาน |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรคติดต่อ -- การป้องกันและควบคุม |
2. | การสื่อสาร -- แง่อนามัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
โรคติดต่อจากอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ และโรคอหิวาตกโรค เป็นสาเหตุการคร่าชีวิตประชาชนได้ตั้งแต่อดีต และเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี กระทรวงสาธารณสุขพยายามรณรงค์ให้เกิดพฤติกรรมป้องกันโรคนี้ ด้วยการใช้ข้อความสาระสำคัญว่า “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” มาโดยตลอด สาเหตุของโรคนี้มาจากเชื้อโรคที่อยู่ในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร ตัวผู้ปรุงอาหาร ภาชนะที่ใส่อาหาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ใช้ในปรุงอาหารที่ไม่สะอาดการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อต่างๆที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดต่อจากอาหารและน้ำของประชาชนรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์สอบถามจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง416 คน จากประชาชนทั่วประเทศที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อจากอาหารและน้ำของกลุ่มตัวอย่าง สัมพันธ์การเปิดรับสื่อรณรงค์ที่สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเผยแพร่ได้แก่ สื่อสติ๊กเกอร์ที่ให้ประชาชนนำไปติดที่ครัว คู่มือบันทึกการรับประทานอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหารและน้ำยังสัมพันธ์กับตัวแปร การเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ได้แก่ แผ่นผับ โปรเตอร์ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งสื่อบุคคลได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข(แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข) และคนในชุมชน ได้แก่ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ซึ่งสามารถนำสื่อเหล่านี้มาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ความรู้และเสริมพฤติกรรมที่เฉพาะเจาะจงที่ประชาชนยังไม่ตระหนัก เช่นพฤติกรรมการใช้ช้อนกลาง ที่ต้องเน้นและต้องอาศัยบุคคลอื่นร่วมมือในการปรับพฤติกรรมการใช้ช้อนกลางไปพร้อมๆกันด้วย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานที่คนในสังคมร่วมกันยอมรับต่อไป ทั้งนี้เพื่อขจัดโรคติดต่อจากอาหารและน้ำให้น้อยลง รวมทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)