รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายกายวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.มรรยาท อัครจันทโชติ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.วิทยุ -- การจัดรายการ
2.วิทยุ -- การผลิตและการกำกับรายการ
3.วิทยุกับเด็ก
4.รายการวิทยุสำหรับเด็ก
5.สื่อมวลชนกับเด็ก
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ปริมาณของรายการวิทยุสำหรับเด็กในปัจจุบัน 2) คุณลักษณะของรายการวิทยุสำหรับเด็กที่ออกอากาศในปัจจุบัน 3) พฤติกรรมการเปิดรับวิทยุของเด็ก 4) ความคิดเห็นของเด็กที่มีต่อรายการวิทยุสำหรับเด็ก ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม 240 สถานีทั้งสถานีวิทยุหลังและสถานีวิทยุท้องถิ่น กระจายไปใน 5 ภูมิภาค 2)เด็ก 900คนซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับกลุ่มตัวอย่างประเภทสถานีวิทยุ จัดแบ่งกลุ่มตามช่วงอายุ (3-5ปี,6-12ปี,13-17ปี),เพศ(ชาย,หญิง) และเขตที่อยู่อาศัย(เมือง, ชนบทในสัดส่วนเท่าๆกัน) ผลการวิจัยพบว่า รายการวิทยุสำหรับเด็กที่ออกอากาศอยู่มุ่งกลุ่มเป้าหมายเด็กช่วงอายุ 13-17 ปี มากที่สุดรองลงไปคือ เด็กช่วงอายุ6-12ปี และน้อยที่สุดคือ เด็กช่วง3-5 ปี อย่างไรก็ตามในภาพรวม รายการวิทยุสำหรับเด็กแทบจะไม่มีพื้นที่อยู่บนสื่อวิทยุกระจายเสียงเลยไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุหลักหรือสถานีวิทยุท้องถิ่น ทั้งนี้นอกจากจำนวนรายการและสัดส่วนเวลาในการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กจะมีอยู่น้อยแล้ว การออกแบบเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของรายการยังไม่ค่อยสอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มตัวอย่างเด็กมากนัก ในขณะที่การออกแบบโทนของรายการและบุคลิกของผู้ดำเนินรายการวิทยุสำหรับเด็กสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มตัวอย่างเด็กเป็นอย่างดี จากการวิจัยยังพบด้วยว่าเด็กไทยในปัจจุบันเปิดรับสื่อวิทยุค่อนข้างน้อย และเกือบทั้งหมดไม่เคยรับฟังรายการวิทยุสำหรับเด็กเลย นอกจากนี้ เด็กที่เปิดรับฟังวิทยุส่วนใหญ่ ยังไมมีโอกาสเป็นผู้เลือกเปิดรับฟังวิทยุด้วยตัวเอง แต่ต้องรับฟังรายการที่พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นผู้เปิด ซึ่งรายการเหล่านั้นส่วนใหญ่ ไม่ใช่รายการสำหรับเด็ก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในงานวิจัยครั้งนี้ คือ 1) มียุทธศาสตร์เชิงรุกในการนำสื่อเสียงเข้าไปหาเด็ก 2) รณรงค์ให้พ่อแม่เห็นความสำคัญของรายการวิทยุสำหรับเด็ก 3) จัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อเด็ก ในรูปแบบFormat Station โดยออกอากาศผ่านหลากหลายช่องทาง 4) มีกระบวนการอบรมเพื่อพัฒนาศาสตร์ศิลป์และหัวใจของผู้ผลิตรายการวิทยุสำหรับเด็กอย่างต่อเนื่อง 5) มีนโยบายการเพิ่มปริมาณรายการวิทยุสำหรับเด็กที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็กยุคใหม่ 6) มีกองทุนเพื่อสนับสนุนการผลิตรายการวิทยุสำหรับเด็ก รวมถึงทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านสื่อเสียง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 31
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 63 - 80
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)