รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แนวคิดเรื่องระยะห่างทางจิตใจ : วิวัฒนาการและความท้าทาย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Psychic Distance : Concept Development and Challenge
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร |
2. | ณัฐพล อัสสะรัตน์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้เป็นการรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดระยะห่างทางจิตใจและแนวคิดที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี พ.ศ. 1956 ถึงปี ค.ศ. 2011 โดยเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการของแนวคิดนี้และข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้และเพื่อเป็นที่อ้างอิงสำหรับนักวิจัย นักศึกษาด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศเป็นหลัก
จากการศึกษาพบว่าแนวคิดนี้ได้มีวิวัฒนาการมาจากการตั้งข้อสังเกตว่านอกจากระยะห่างทางกายภาพที่บ่งบอกต้นทุนของการส่งออกแล้วยังมีระยะห่างทางจิตใจ ข้อสมมุติฐานของแนวคิดนี้คือ ผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะเลือกเข้าตลาดที่มีระยะห่างทางจิตใจที่ใกล้มากกว่าตลาดที่มีระยะห่างทางจิตใจไกลยุคต่อมาจึงมีความพยายามที่จะวัดระยะห่างทางจิตใจและพิสูจน์ข้อสมมุติฐาน
แม้การศึกษาเชิงประจักษ์จะมีความไม่สอดคล้องกันและเกิดคำวิจารณ์ว่าแนวคิดนี้ขาดอำนาจในการอธิบายและล้าสมัยไปแล้ว คณะผู้ศึกษาพบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการขาดความเข้าใจว่าแนวคิดเรื่องระยะห่างทางจิตใจเป็นแนวคิดเชิงพฤติกรรม มีความเป็นพลวัตร ซึ่งควรประยุกต์ใช้โดยการคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัทไปตามกาลเวลาตามระดับของความรู้ใหม่ที่ได้รับในแต่ละกระบวนการของการเข้าสู่ความเป็นสากล (Internationalization) รวมถึงระดับของความมุงมั่นของบริษัทต่อการพัฒนาตลาดในประเทศนั้นๆ อีกด้วย หากทำการศึกษาโดยคำนึงถึงบริบทของการศึกษาและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมก็จะลดปัญหาดังกล่าวได้ บทความนี้มีข้อสรุปว่า แนวคิดเรื่องระยะห่างทางจิตใจยังคงเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์แต่ต้องประยุกต์ใช้โดยมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ คำนึงถึงบริบทที่จะศึกษา และเลือกใช้วิธีการศึกษาที่เหมาะสม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)