รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย ของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายหลังวิกฤติอุทกภัยปี 2554
ชื่อเรื่องรอง Shifting in Greater Bangkok Citizen’s Attitudes toward Dwelling Buying Decision Making after 2011 Flood Crisis
ชื่อผู้แต่ง
1.วิทวัส รุ่งเรืองผล
2.นิติ รัตนปรีชาเวช
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.อสังหาริมทรัพย์
2.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
3.ที่อยู่อาศัย -- การจัดซื้อ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ อสังหาริมทรัพย์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวเลขและลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป เป็นอย่างมาก เช่น การที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ การที่ไม่สามารถทดแทนได้ การที่คุณค่าถูกกำหนดจากสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณค่าที่ขึ้นอยู่กับการให้ค่าของแต่ละบุคคล องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อสังหาริมทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแล้ว การเกิดวิกฤติอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ย่อมจะมีผลกระทบต่อทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคตลอดจนการตัดสินใจในการพัฒนาโครงการของผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อันจะนำไปสู่แนวโน้มพฤติกรรมต่างๆ ที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นแล้วจึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพและปริมณฑลภายหลังวิกฤติอุทกภัย 2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมจากกรอบแนวคิดแบบ Separate Entities View และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายหลังวิกฤติอุทกภัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ที่ประสบอุทกภัยโดยส่วนมากล้วนมีทัศนคติในเชิงลบต่อวิกฤติอุทกภัยที่มีผลกระทบในแง่มุมต่างๆ ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น การย้ายถิ่น การชะลอการซื้อ ประเภทที่อยู่อาศัยที่สนใจ ตลอดจนที่พักอาศัยสำรอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางแง่มุมเท่านั้น สำหรับผลการวิจัยในส่วนของผู้ประกอบการแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบกรอส่วนใหญ่มีทัศนคติที่มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์และการพัฒนาโครงการในพื้นที่ที่เคยประสบภัย ถึงแม้ว่าอาจจะมีประกอบการส่วนใหญ่มีทัศนคติที่มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์และการพัฒนาโครงการในพื้นที่ที่เคยประสบภัย ถึงแม้ว่าอาจจะมีการชะลอระยะเวลาอยู่บ้าง ตลอดจนมีความเชื่อมั่นระยะยาวในการป้องกันวิกฤติโดยรัฐบาล โดยสรุปแล้วผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจถึงความเชื่อ ทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการและความคาดหวังในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 35
ฉบับที่ 136
หน้าที่ 9 - 24
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)