รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กรอบวิชาชีพบัญชีของไทยเป็นฉันใด?
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | การบัญชี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สภาวิชาชีพบัญชีออกข้อบังคับ ฉบับที่ 19 เรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2553 ได้ให้ความหมายของกรอบวิชาชีพไว้ดังนี้
กรอบวิชาชีพบัญชี ( Accounting Profession Framework )หมายถึง หลักการมาตรฐานและแนวปฏิบัติของวิชาชีพบัญชี
ตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2553 ส่วนที่อ้างถึงกรอบวิชาชีพบัญชี มี 3 ข้อ คือ ข้อ 9 16 และ 17 ดังนี้
ข้อ 9 ความเป็นอิสระ
(1.) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องใช้ดุลพินิจและปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระภายใต้กรอบวิชาชีพบัญชี
(2.) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องไม่ปฏิบัติงานที่ตนขาดความเป็นอิสระภายใต้กรอบวิชาชีพบัญชี
ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องมความรับผิดชอบตามกรอบวิชาชีพบัญชี
ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติงานตามกรอบวิชาชีพบัญชี เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และมีประโยชน์ต่อผู้บริการ
ผู้อ่านทราบหรือไม่ว่ากรอบวิชาชีพบัญชีข้างต้นหมายถึงอะไรกันแน่ เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ผู้เขียนขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับกรอบวิชาชีพบัญชีไว้ ณ ที่นี้ 2 เรื่องคือ (1) กรอบวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชีและ (2) กรอบวิชาชีพบัญชีด้านการสอบบัญชีจากการศึกษาค้นคว้าและประสบการณ์ในวิชาชีพบัญชีเกือบ 30 ปีของผู้เขียน เพื่อนำมาเล่าสู่กันฟังตามนิสัยของผู้สูงวัยก่อนเป็นโรคอัลไซเมอร์ (โรคความจำเสื่อม)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)