รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แบบจำลองการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวทางการเงินวิธีวิเคราะห์จำแนกประเภท
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ปานรดา พิลาศรี |
2. | มนวิกา ผดุงสิทธิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การเงิน |
2. | การเงิน -- การบริหาร |
3. | ความมั่นคงทางการเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
หน่วยธุรกิจมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นหน่วยที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริหารที่ส่งผลต่อการสร้างงาน การกระจายรายได้ การส่งออก รวมถึงการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แต่ปัจจัยต่างๆ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ถดถอย ปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง รวมถึงปัญหาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ไม่ประสิทธิภาพ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของภาคธุรกิจ
ผลกระทบของปัญหาดังกล่าวที่มีต่อภาคธุรกิจอาจส่งผลต่อความอยู่รอดและความล้มเหลวทางการเงินของกิจการ เช่น ผลประกอบการขาดทุนหรือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น ส่งเหล่านี้ย่องส่งผลกระทบต่อหลายฝ่ายตามมา เช่น การปลดหรือลดจำนวนพนักงาน ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สำหรับเจ้าหน้าที่ และในกรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็อาจจะถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็อาจจะถูกตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งให้เป็นบริษัทที่เข้าข่ายต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ (Rehabilitation Company) หรืออาจถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ทั้งภายในแล ทั้งภายในและภายนอกิจการ ทำให้มูลค่าขององค์กรลดลงเนื่องจากการล้มละลายเป็นเหตุการณ์ที่มีต้นทุนสูง (Beaver, 1968) และขยายผลกระทบสู่สภาพเศรษฐกิจองประเทศในวงกว้าง ดังนั้น การสรรหาสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมการรับมือ หรือปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้รอดพ้นจากภาวะล้มเหลวทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น
สัญญาณเตือนภัยที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวทางการเงินนั้นจำเป็นต้องมีความแม่นยำ เที่ยงตรงและสามารถบ่งชี้ถึงสถานะการเงินของกิจการในอนาคตได้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร รวมถึงผู้ที่สนใจในผลการประกอบการของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวของธุรกิจมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่สนใจในการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร จึงมีงานวิจัยจำนวนมากที่ได้พยายามพัฒนาแบบจำลองเพื่อใช้พยากรณ์ความเป็นไปได้ของภาวะความล้มเหลวขององค์กร (Glezakos et., 2010) งานวิจัยที่ขยายขอบเขตมาจากงานวิจัยของประเสริฐ ลีฬหาวาสน์และมนวิกา ผดุงสิทธิ์ (2552) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของแบบจำลองที่เรียกว่า Z-Score Model ที่พัฒนาโดย Altman (1968) กับแบบจำลองเดียวกันที่ได้รับการปรับปรุงโดย Altman et al. (1995) โดยใช้ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนและรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในช่วงปี พ.ศ. 2546-2550 และสรุปว่าในภาพรวม Z-Score Models ทั้งสองรูปแบบสามารถทำนายภาวะล้มเหลวของบริษัทที่ล้มละลายได้ 1 ปี ล่วงหน้าในระดับความแม่นยำที่ค่อนข้างสูงและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่เมื่อนำมาใช้ทำนายภาวะล้มเหลวของกลุ่มตัวอย่างที่มีสภาพทางการเงินปกติ ระดับความแม่นยำของตัวแบบทั้ง 2 ตัวแบบจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
งานวิจัยของประเสริฐ ลีฬหาวาสน์ และมนวิกา ผดุงสิทธิ์ (2552) เสนอว่า ผู้ที่สนใจสามารถใช้ Z-Score Modelsของ Altman et al. (1995) ในการพยากรณ์ภาวะล้มเหลวทางการเงินเนื่องจากมีระดับความแม่นยำพอสมควรและข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการคำนวณตัวแบบดังกล่าวก็เปิดเผยในงบการเงิน นอกจากนี้ แบบจำลองดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมสำหรับบริษัทที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจเปิดใหม่ (Emerging Market) อย่างไรก็ตาม Altman (2002) ให้ความเห็นว่า ผู้ที่สนใจจะพัฒนาแบบจำลองขึ้นมาใหม่ควรจะใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประชากรที่จะนำแบบจำลองนั้นมาพยากรณ์ เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะร้างตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ภาวะความล้มเหลวของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้เทคนิควิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminate Analysis) ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินหลายๆ อัตราส่วนพร้อมกันเพื่อใช้ในการพยากรณ์และจำแนกธุรกิจว่ามีแนวโน้มที่จะประสบภาวะล้มเหลวทางการเงินหรือไม่ โดยจะศึกษากับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ (ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน ได้แก่ ธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต) ในช่วงปี พ.ศ. 2547-2553 ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะทำให้ทราบถึงปัจจัยที่เป็นตัวแปรทางการเงินที่สามารถใช้ในการพยากรณ์โอกาสที่จะเกิดภาวะความล้มเหลวทางการเงินของกิจการเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้หรือสัญญาณเตือนภาวะล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งผู้ที่ให้ความสนใจกับธุรกิจสามารถใช้ตัวแบบการพยากรณ์ที่ได้จากการศึกษาเป็นเครื่องมือช่วยในการเตือนภัยเพื่อประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขสถานการณ์ รวมไปถึงการเตรียมการป้องกันเพ่อรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)