รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การวัดมูลค่ายุติธรรม
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | มูลค่ายุติธรรม |
2. | การวัดมูลค่า |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | การเงิน |
3. | มูลค่า (เศรษฐศาสตร์) |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในปัจจุบันการใช้มูลค่ายุติธรรมในการรายงานข้อมูลทางการเงินเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งต่อผู้จัดทำรายงาน ผู้สอบบัญชี ผู้ใช้รายงาน และผู้กำหนดหลักเกณฑ์ เห็นได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีทั่วโลกได้เน้นถึงการใช้มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ในการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน โดยเชื่อว่า การใช้มูลค่ายุติธรรมจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ของผู้ใช้งบการเงินมากกว่าการใช้ราคาทุนเดิม (Historical Cost) ซึ่งเป็นเกณฑ์การวัดมูลค่าในอดีตที่แสดงให้เห็นหลักฐานอันเที่ยงธรรม อย่างไรก็ตาม การใช้หลักราคาทุนเดิมนั้นก็ยังคงเป็นเกณฑ์การวัดมูลค่าขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก (Initial Measurement) เพราะถือเป็นมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เกิดรายการ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินที่บันทึกไว้ตามหลักราคาทุนเดิมย่อมมีมูลค่าที่แตกต่างไปจากวันที่เกิดรายการเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยมหภาค ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยงข้อง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การใช้หลักราคาทุนเดิมเมื่อระยะเวลาผ่านไปจึงไม่ทำให้งบการเงินสะท้อนความเป็นจริงและสะท้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การวัดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ (Fresh-Start Measurement) ให้มีมูลค่าเป็นปัจจุบันในระยะเวลาต่อมา (Subsequent Measurement) โดยการใช้มูลค่ายุติธรรมจึงเหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตามการวัดมูลค่ายุติธรรมให้น่าเชื่อถือนั้นเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันมากที่สุด โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถหาราคาตลาดอ้างอิงได้ จะต้องประมาณมูลค่ายุติธรรมอย่างไรจึงจะเหมาะสมและน่าเชื่อถือ (Reliable)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)