รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรับทำบัญชีอย่างต่อเนื่อง
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ปัญญาภรณ์ กงประดิษฐ์ |
2. | วรรณี เตโชโยธิน |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องมีความคล่องตัวสูง สามารถปรับตัวเพื่อตอบรับกับบริษัทที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงความรวดเร็ว ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ดำเนินธุรกิจเลือกใช้คือการใช้บริการบางส่วนจากภายนอก (outsourcing) เพื่อสงวนทรัพยากรไว้สำหรับการตัดการในส่วนที่เป็นแก่นของธุรกิจ บริการที่ธุรกิจมักเลือกใช้จากภายนอก เช่น การจัดทำบัญชี การประมวลผลข้อมูล การจัดการงานบุคคล เป็นต้น งานวิจัยนี้จะศึกษาการจัดทำบัญชีโดยใช้บริการจากภายนอกองค์กร
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2549 ชี้ให้เห็นว่า นิติบุคคลประมาณร้อยละสามสิบใช้บริการจัดทำบัญชีจากภายนอกองค์กร และมีแนวโน้มขยายตัวอันเนื่องมาจากความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของมาตรฐานการบัญชี อันจะเห็นได้จากจำนวนมาตรฐานการบัญชีที่บังคับใช้ทั้งหมดประมาณ 30 ฉบับ มีการปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2550 และ 2551 มากกว่า 15 ฉบับและฉบับปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2553 จำนวน 24 ฉบับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของมาตรฐานการบัญชีกระตุ้นให้ธุรกิจหันไปใช้บริการจัดทำบัญชีจากนักบัญชีมืออาชีพมากขึ้น ในแง่ของผู้ให้บริการรับทำบัญชีก็เผชิญกับการแข่งขันรุนแรง หากทำการค้นหาผ่านกูเกิ้ลโดยใช้คำว่า “บริการรับทำบัญชี” จะพบเว็บไซต์มากกว่า 30,000 เว็บ ซึ่งเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนแทนผู้ให้บริการรับทำบัญชีได้ตลอดเวลา ความอยู่รดของกิจกาจรับทำบัญชีจึงไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าในปัจจุบันแต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะรักษาลูกค้าให้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยในอดีตแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้บริการต่อเนื่อง คือ คุณค่าในสายตาของลูกค้า (Perceived value) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction) และต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ (Switching costs) (Patterson and Spreng (1997) และ Liu(1998)) ผู้วิจัยจึงศึกษาพบว่าปัจจัยดังกล่าวจะมีผลเช่นเดียวกันกับการใช้บริการรับทำบัญชีอย่างต่อเนื่องหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานครที่ในปัจจุบันใช้บริการการจัดทำบัญชีจากสำนักงานบัญชีจำนวน 100 ราย ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาโดย Liu (1998) ในการเก็บข้อมูลและใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) โดยการสกัดปัจจัย (Factor Extraction) จากนั้นจึงนำปัจจัยและตัวแปรที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยของพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว (Simple correlation) แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทั้งสามประการ ได้แก่คุณค่าในสายตาของลูกค้า (Perceived value) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction) และต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ (Switching costs) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจใช้บริการรับทำบัญชีต่อเนื่องตามคาด แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่าปัจจัยคุณค่าต่อลูกค้ามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสำนักงานบัญชีต่อเนื่องมากที่สุดและต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ให้บริการต่อเนื่อง เนื่องจากความพึงพอใจของลูกค้ามีความสัมพันธ์กับทั้งคุณค่าในสายตาลูกค้าและต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ให้บริหาร เมื่อวิเคราะห์ทั้งสามปัจจัยพร้อมกัน ความพึงพอใจจึงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใบ้บริการต่อเนื่อง
บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ทบทวนผลงานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้องหลังจากนั้นจะอธิบายถึงวิธีการวิจัย ผลการวิจัย และข้อสรุป รวมทั้งข้อเสนอแน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)