รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
มาตรฐานการบัญชี เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ : มุมมองของผู้สอบบัญชีและผู้จัดทำงบการเงินของบริษัทในกลุ่ม SET 100
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ลภินี โกศลบุญ |
2. | อรพินท์ อิ่มจงใจ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี -- มาตรฐาน |
2. | การบัญชี |
3. | งบการเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2550) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีจากเดิมในหลายๆส่วน เริ่มตั้งแต่ชื่อมาตรฐานจากเดิม “งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย” มาเป็น “งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ” เพื่อขยายขอบเขตให้ครอบคลุมกว้างขึ้น ทั้งนี้เพราะมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 45 และ 46 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ยังได้ถูกอ้างถึงในการนำไปปฏิบัติด้วย งานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นก่อนการปรับปรุงร่างมาตรฐานการบัญชี เรื่องงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจ ฉบับปรับปรุง 2552
ประเด็นสำคัญของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) อยู่ที่การกำหนดให้บันทึกบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการโดยใช้วิธีราคาทุน หรือวิธีการบัญชีตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่องการรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) แทนวิธีส่วนได้เสีย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศตามที่ระบุไว้ในส่วนของบทนำที่อยู่ในส่วนแรกของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550)
จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีนี้เอง ส่งผลให้บริษัทที่จัดทำงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ ต้องทำการปรับย้อนหลังรายการทางบัญชี เป็นผลให้รายการกำไรสะสมองกิจการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากการปรับปรุงนี้ งบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชน จะต้องมีการแสดงงบเปรียบเทียบในส่วนของปี 2549 ซึ่งจะเป็นงบการเงินเฉพาะกิจการที่ได้ปรับปรุงด้วยวิธีการปรับย้อนแล้ว เมื่อได้นำเปรียบเทียบกับงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 เดิมที่ทำไว้ จะยิ่งสะท้อนให้เห็นข้อแตกต่างในหลายๆประเด็นของรายการบัญชี อาทิเช่น รายการกำไรหรือขาดทุนสุทธิที่เปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามหรือจำนวนเงินมีการเปลี่ยนแปลงไป, บัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยแสดงยอดต่างไปจากเดิม แม้กระทั่งกำไรหรือขาดทุนสุทธิในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการก็แสดงยอดแตกต่างกันอีกด้วย
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชีนี้ส่งผลกระทบต่อการรายงานตัวเลขในงบการเงินในหลายๆส่วน ทำให้เกิดการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางโดยผู้ที่เกี่ยวข้อ โดยเฉพาะ ผู้จัดทำงบการเงินและผู้สอบบัญชีที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของบริษัทที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ งานวิจัยนี้ศึกษาความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีที่ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 และผู้จัดทำงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET100 เป็นตัวแทนของหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายมากนั่นหมายถึงน่าจะมีการใช้งานรายงานการการเงินโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย จึงน่าจะเป็นตัวแทนที่ดีในการเสนอมุมมองความคิดเห็นและทำให้มีโอกาสมองเห็นผลกระทบได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย โดยสอบถามประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อเนื้อหาและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่องงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการที่บังคับใช้ โดยศึกษาความคิดเห็นของทั้งสอง กลุ่มของผู้สอบบัญชีในฐานะผู้ตรวจสอบงบการเงินที่ทำการตรวจสอบงบการเงินในช่วงระยะเวลาที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงมาปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอาจมีมุมมองหรืออาจพบประเด็นข้อคิดเห็นต่อเนื้อหาและข้อปฏิบัติต่างๆ ตามที่มาตรฐานบัญชีฉบับปรับปรุงได้กำหนดขึ้นมา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่องบการเงินของบริษัทที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและกลุ่มผู้จัดทำงบการเงินของปริษัทฯเอง ในฐานะที่เป็นผู้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)