รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบข้อบังคับสำหรับนักวิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินเดีย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ชูศรี เที้ยศิริเพชร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักบัญชี -- จรรยาบรรณ
2.นักบัญชี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
3.นักบัญชี -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
4.นักบัญชี -- สิงคโปร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
5.นักบัญชี -- อินเดีย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ในปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน ประเทศไทยจึงต้องร่วมทำข้อตกลงว่าด้วยการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) กับองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนกับประเทศต่างๆมุ่งหวังที่จะให้มีการเปิดเสรีหรือมีการยอมรับคุณสมบัติซึ่งกันและกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย (Uruguay Round) ทำให้เกิดความตกลงทั่วไปด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Service: GATS) ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก ประเทศไทยได้ยื่นตารางข้อมูลผูกพันในการเปิดการค้าเสรีสาขาธุรกิจวิชาชีพ ซึ่งรวมการบริการด้านบัญชี (ศิลปพร ศรีจั่นเพชร , 2545: 12-13) ทั้งนี้ปรากฏว่า กว่า 54 ประเทศได้ยื่นตารางข้อมูลผูกพันให้มีการเปิดลาดด้านบัญชี โดยเปิดเสรีให้บริษัทในประเทศสามารถใช้บริการด้านดารบัญชีจากบริษัทต่างประเทศได้ทั้งนี้ต้องเป็นบริษัทในประเทศที่ยินยอมให้ผี้สัญชาติไทยประกอบอาชีพสอบบัญชีในประเทศนั้นได้ (สภาวิชาชีพบัญชี, 2547: ออนไลน์) ประเทศไทยจึงมีความผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นที่ต้องมีการเปิดเสรีวิชาชีพบัญชีเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงจุดอ่อนทางด้านกฎหมายให้มีความรัดกุมมากยิ่ขึ้น เพื่อผลักดันให้มีมาตรฐานบัญชีและข้อบังคับสำหรับนักวิชาชีพบัญชีที่รุดหน้าและสามารถแข่งขันกันประเทศอื่นได้ การพัฒนาทางกาบัญชีในแต่ละประเทศนั้นล้วนแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการบัญชีของแต่ละประเทศได้แก่ ด้านการเมือง กฎหมาย การศึกษา วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงย่อมมีการบัญชีที่มีความซับซ้อนมากกว่า ส่งผลให้การบัญชีและข้อบังคับสำหรับนักวิชาชีพบัญชีของประเทศนั้นๆ มีมาตรฐานสูงตามไปด้วย (ศิริลักษณ์ ศุทธชัย, 2549: 91) ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียด้วยกัน ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการกำกับดูแลที่ดี (Good Corporate Governance) อยู่ในระดับสูง โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 1 ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ติดอันดับความสูงโปร่งใสสูงมาก (ดรรชนีชี้สัดภาพลักษณ์คอรัปชั่น ประจำปี 2549, 2549: ออนไลน์) จากการจัดอันดับโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) การที่ประเทศและองค์กรที่มีการกำลับดูแลที่ดี จะเป็นเสมือนกลไกที่ทำให้ได้รับความเชื่อถือจานานาประเทศ ส่งผลให้องค์กรวิชาชีพบัญชีของประเทศสิงค์โปรเข้มแข็ง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนประเทศอินเดียนั้นมีการรับบริการทำบัญชีเพื่อส่งออก โดยเริ่มจากการที่สำนักงานบัญชีในสหรัฐอเมริกาเป็นตัวกลางทำตลาดเพื่อรบให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี แล้วส่งงานบันทึกบัญชีส่งไปให้บริษัทในอินเดียเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันธุรกิจนี้ของประเทศอินเดียมีการขยายไปยังประเทศอื่นเหนือจากประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าวิชาชีพการบัญชีของประเทศอินเดียมีการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับเพราะสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ (ศิริรัฐ โชติเวชการ: 2550) ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาเปรียบเทียบข้อบังคับสำหรับนักวิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์และประเทศอินเดีย ในประเด็นการกำหนด คุณสมบัติ การควบคุม กำกับดูแล จรรบยาบรรณ และบทลงโทษสำหรับนักวิชาชีพบัญชีของแต่ละประเทศ รวมทั้งการนำไปเปรียบเทียบกับข้อบังคับวิชาชีพบัญชีที่กำหนดโดยสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ (International Federation of Accountants: IFAC) ซึ่งเป็นองค์กรระดับสากล เพื่อพิจารณาความแตกต่างอันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงด้านข้อบังคับสำหรับนักสิชาชีพบัญชีไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อพิจารณาความแตกต่างอันจะเป็นแนวทางการปรับปรุงด้านข้อบังคับสำหรับนักวิชาชีพบัญชีไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถแข่งขันระดับนานาชาติได้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 6
ฉบับที่ 15
หน้าที่ 51 - 68
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์่และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)