รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความรับผิดขอบของคณะกรรมการบริษัท โครงสร้างของผู้ถือหุ้นกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ -- การจัดการ
2.ผู้ถือหุ้น
3.การกำกับดูแลกิจการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2540 ทำให้กิจกาจจำนวนมากประสบปัญหาการดำเนินงาน สาเหตุหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานที่ขาดการควบคุมภายในที่ดี ข้อมูลภายในขาดความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริหารและถือหุ้นของกิจการไม่สามารถที่จะประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาแบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้ที่มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ การที่กิจการจะสามารถทำให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีได้นั้น สิ่งที่เริ่มต้นสำคัญที่สุดนั้นเกิดจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งถือเป็นตัวแทน (Agent) ของผู้ถือหุ้นในการควบคุมดูแลผ่ายบริหาร รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลในการบบริหารงานของกิจการ และปัจจัยภายในอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี คือ โครงสร้างการถือหุ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น จากการที่บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะการถือหุ้นแบบกระจุกตัวในกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถดำเนินการในลักษณะที่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยรายอื่นได้ นอกจากความสำคัญของการมีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีในกิจการดังกล่าวแล้ว สิ่งที่กิจกาจทุกกิจการนั้นมุ่งหวังเป็นสำคัญนั้นก็คือ ผลตอบแทนการในการลงทุนที่อยู่ในรูปของผลกำไร การที่กิจการส่วนใหญ่ใช้ ผลกำไรเป็นตัววัดประสิทธิภาพและให้ผลตอบแทนกับฝ่ายบริหาร อย่างไรก็ดี การวัดผลการดำเนินงานที่อาศัยข้อมูลจากงบการเงินในอดีตเพียงอย่างเดียวถือว่ายังไม่เพียงพอ เนื่องจากหลักการบัญชีอาจมีช่องโหว่ที่ทำให้มีการตกแต่งตัวเลขในงบการเงิน ดังนั้น หลักแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในเรื่อง มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added: EVA) จึงเกิดขึ้นมา ซึ่งจะเน้นที่การสร้างความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนทั้งหมด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 4
ฉบับที่ 10
หน้าที่ 26 - 39
ปีพิมพ์ 2551
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์่และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)