รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาครัฐในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี
ชื่อเรื่องรอง Existing situations, problems and guide development of knowledge management of public under the office of Chantaburi Educational Service Area
ชื่อผู้แต่ง
1.เปรมศักดิ์ จินโจ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารองค์ความรู้
2.โรงเรียน -- ไทย -- จันทบุรี -- การบริหารองค์ความรู้
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา เปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาครัฐในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จันทบุรีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2 ได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 495 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และสถานที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และสถานที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง จำแนกตามขนาดโรงเรียน และจำแนกตามที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้ นที่การศึกษาจันทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามตำแหน่ง และจำแนกตามที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<..05) 5. แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึก ษาจันทบุรี ได้แก่ 5.1ด้านการระบุความรู้ ควรสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้ จัดเก็บความรู้อย่างมีระบบงานต่อการสืบค้นและนำมาใช้งาน และสรรหาบุคลาการผู้รับผิดชอบส่งเสริมบุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ 5.2ด้านการพัฒนาความรู้ ควรใช้กลวิธีและสื่อในการสื่อสาร/ ประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มและต้องขยายช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมู ลเสนอผลงานและมีกิจกรรมอื่นๆ 5.3ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ควรให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาการวิชาการ สำนักงานเขตพื้นที่ หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ต่อกัน 5.4ด้านการเข้าถึงความรู้ ควรจัดการความรู้ที่เน้นเฉพาะส่วนของ ICT ให้ได้รายละเอียดขององค์ความรู้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน 5.5ด้านสร้างความรู้ ควรระดมความคิด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการทำงานและหลังจากการทำงาน ซึ่งจะต้องมีหน่วยงานหรือบุคคลรับผิดชอบในการทำกิจกรรมสร้างความรู้ 5.6ด้านการแบ่งฟันความรู้ ควรมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคลากรในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา แล้วนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกันระหว่างสถานศึกษา 5.7ด้านการเรียนรู้ ความเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของครู ให้มีทัศนคติทางบวกจากการทำงานและศึกษาวิธการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 5
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 91 - 103
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)