รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายโรงแรมขนาดเล็ก เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
|
ชื่อเรื่องรอง |
A Model of Small-Sized School Networking Management for Improving Educational Quality Ubon Ratchathani Educational Service Area Office 1
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารการศึกษา |
2. | คุณภาพการศึกษา -- ไทย -- อุบลราชธานี |
3. | โรงเรียนประถมศึกษา -- การควบคุมคุณภาพ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปการแบบบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนขนาดเ
ล็กเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา โดยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1
ศึกษากรอบสาระเพื่อประกอบการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2
สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ตามองค์ประกอบที่กำหนด
ซึ่งให้มีการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้เชี่ยวชาญ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นตอนที่
3 จัดให้มีการทดลองรูปแบบในโรงเรียน 4 โรงเรียน 1 เครือข่าย
และจัดให้มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและประเมินคุณภาพภายในเครือข่ายหลังการทดลองและขั้น
ตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายเบื้องต้นโดยวิธีศึกษาเจาะลึกเฉพาะกลุ่ม (Fucus group
discussion)
ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็กที่นำไปสู่คุณภาพการศึกษามีโครงสร้างและองค์ประก
อบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันดังนี้
1.จัดระบบงานและกระบวนการดำเนินการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกันของโรงเรียนขนาดเล็กในเ
ครือข่ายครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป
เพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเครือข่าย
2. อาศัยหลักบุคลากรมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ
หลักความมีเอกภาพในนโยบายและหลักการกระจายอำนาจ
3. ใช้ระบบและกลไกในการดำเนินงานโดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการเครือข่าย
ให้มีบทบาทหน้าที่ร่วมกันดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน คือ (1)
การรวมกลุ่มโรงเรียนให้เป็นเครือข่าย (2) การวิเคราะห์ปัญหา (3) กำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน (4)
การทำแผนการดำเนินงาน (5) การจัดทำงบประมาณ (6) การดำเนินการตามแผน (7) การประเมิน ผลงาน
การรายงานผลความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายจำเป็นต้องอาศัยภาวะผู้นำของแกนนำเครือข่ายและคณะกร
รมการการบริหารจัดการศึกษาเครือข่ายและอาศัยการมีส่วนร่วมโดยความสมัครใจของผู้อำนวยการโรงเรียน
ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาที่อยู่ในตำบลเดียวกันหรือเขตติดต่อกันภายใน 5 กิโลเมตร
รวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกำหนดนโยบายและ แนวปฏิบัติเครือข่ายที่ชัดเจน
4. ผลการประเมินรูปแบบปรากฏว่า รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายมีประโยชน์
ต่อคุณภาพการศึกษามากที่สุด โรงเรียนขนาดเล็กมั่นในในคุณภาพการจัดการศึกษามากขึ้น
นำไปสู่คุณภาพนักเรียน และเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)