รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
ชื่อเรื่องรอง |
The model of Community Participation in School Management Utilizing Economy Philosophy
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร -- ไทย |
2. | การบริหารการศึกษา |
3. | สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถาน
ศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและรูปแบบที่ค้นพบนี้สามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลัก
ษณะตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research: PAR) ที่โรงเรียนบ้านคุ้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต1
มีการเก็บข้อมูลด้วนการสังเกตแบบมีส่วนร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม จากผู้ร่วมวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเ
พียงนั้น ผู้บริหารต้องแสงหาการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ได้แก่ ครูและบุคลากร
นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อมาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ
ร่วมติดตามและประเมินผลในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีคุณลักษณะตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยการให้กระบวนการ PDCA ปฏิบัติกิจกรรม
ซึ่งผู้บริหารยึดหลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร ด้วยการกำกับ ติดตาม ดูแล สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ครู บุคลากร และนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทั้งในโรงเรียน ที่บ้าน ชุมชน
และฝึกฝนตนเองจากกิจกรรมส่งเสริมครู นักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรม โดยโรงเรียนมีหลักสูตรที่ยืดหยุ่น
สามารถนำกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการกับทุกกลุ่มสาระ
จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงมีการติดตามและประเมินผลร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมอ
ย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการปฏิบัติกิจกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนานักเรียน
มีการประเมินผลก่อนและหลักปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน
รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ค้นพบนี้
สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ตามวัตถุประสงค์เพราะทำให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ผู้เรียน
ผู้ปกครอง ชุมชน เกิดการพัฒนาความรู้ ความคิด
มีความตระหนักต่อความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตน โดยเฉพาะนักเรียนมีการเปลี่ยนความคิด
เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรองใคร่ครวญ มีความขยัน อดทน ประหยัด
รับผิดชอบต่อการเรียนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ก่อนและหลังดำเนินการพัฒนามีการพัฒนา “คน”
ให้เข้าใจในความพอเพียง มีปัญญา กล้าหาญ ยืนหยัดในการ “พึ่งตนเองอย่างพอเพียง”
ปฏิบัติกินกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบ เอาใจใส่ดูแล มีการติดามผล
ประเมินผลและเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)