รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนารูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Development Efficiency Model For offices of Educational Service Area Using the Royal Philosophy of Sufficiency Economy
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารการศึกษา |
2. | สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารนำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิท
ธิภาพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปรัชญาของเ
ศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการมีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน
และนำไปทดลองใช้ตามกระบวนการ PAOR ของ Kemmis &McTaggart 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน
การลงมือปฏิบัติงาน การสังเกตผลการปฏิบัติงานและการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน จำนวน 2 วงรอบ
พื้นที่วิจัยคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 มีการจัดเก็บข้อมูลโดย
การวิเคราะห์สภาพองค์กรการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางปรั
ชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการนำแนวคิดตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาจัดโครงสร้างองค์กร ใหม่โดยกำหนดศูนย์จำนวน 4 ศูนย์ คือศูนย์อำนวยการและประสานงาน
ศูนย์ส่งเสริมสนับสนุน ศูนย์ปฏิบัติการ และศูนย์นิเทศกำกับติดตามประเมินผลและมีทีมงาน 4 ทีม คือ
ทีมอำนวยการและประสานงาน ทีมส่งเสริมสนับสนุน ทีมปฏิบัติการและทีมนิเทศกำกับติดตามประเมินผล
มีการกำหนดโครงการตามภารกิจการบริหารงาน 4 ด้าน 12 โครงการ แล้วนำสู่การปฏิบัติตามกระบวนการ
PAOR เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 3 ปรระการ คือ ความสำเร็จของงาน ความพึงพอใจของบุคลากร
และความยั่งยืน
2.ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามแนว
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมีส่วนช่วยให้การบริหารงานทั้ง 4 ด้าน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า
การดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการบริหารงานงบประมาณ
ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารงานวิชาการพอใจระดับมาก
และนอกจากนี้ยังพบว่า การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ และกิจกรรม
สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลลากรทุกกิจกรรม ผลการประเมินความยั่งยืน พบว่า
มีแนวโน้มที่จะมีความยั่งยืน ทั้งนี้เนื่องจากมีการพัฒนาบุคลากรด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีโครงสร้างที่ชัดเจน
มีการสร้างเครือข่าย มีกลไกในการกำกับติดตามและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)