รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การใช้แผนภูมิแท่งเพื่อสร้างความประทับใจ (Impression Management) ในรายงานประจำปี กรณีศึกษา : บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ธเรศ สันตติวงศ์ไชย |
2. | ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การสร้างความประทับใจ (จิตวิทยา) |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แผนภูมิแท่งเพื่อสร้างความประทับใจ (Impression Management) ในรายงานประจำปี ของบริษัทจดทะเบียน และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยชาวต่างชาติ ผลการดำเนินงาน ขนาดของกิจการ และความมีชื่อเสียงของผู้สอบบัญชี กับการสร้างความประทับใจ โดยใช้แผนภูมิแท่งในรายงานประจำปี ของบริษัทจดทะเบียนในประทศไทย การวัดมูลค่าการสร้างความประทับใจในรายงานประจำปีใช้ดัชนีวัดการใช้แผนภูมิแท่งเพื่อสร้างความประทับใจ หรือ “GDI” (Graph Discrepancy Index ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยรายงานประจำปีที่แสดงแผนภูมิแท่งรายได้ของบริษัท จำนวน 193 ฉบับ แผนภูมิแท่งกำไรสุทธิ จำนวน 197 ฉบับ และแผนภูมิแท่งสินทรัพย์รวม จำนวน 167 ฉบับ ซึ่งมีการแสดงแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบจำนวน 3 ปี ในรายงานประจำปี
ผลการศึกษาพบว่าการใช้แผนภูมิแท่งในการสร้างความประทับใจในจำนวนที่มากกว่าแผนภูมิแท่งที่ไม่มีการสร้างความประทับใจในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนแสดงแนวโน้มของผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น และจากการความสัมพันธ์ของลักษณะต่างๆ ของบริษัทจดทะเบียน กับการสร้างความประทับใจโดยใช้แผนภูมิแท่งในรายงานประจำปี พบว่า การกะจุกตัวของการถือหุ้นมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อการสร้างความประทับใจโดยใช้แผนภูมิแท่งในรายงานประจำปี พบว่า การกระจุกตัวของการถือหุ้นมีคามสัมพันธ์ในเชิงลบต่อการสร้างความประทับใจโดยการใช้แผนภูมิแท่ง กำไรสิทธิ ความสามารถในการทำกำไรและขนาดของบริษัทจดทะเบียนมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการสร้างความประทับใจโดยใช้แผนภูมิแท่งรายได้และแผนภูมิแท่งสินทรัพย์รวม ต่อสัดส่วนการถือหุ้นโดยชาวต่างชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการสร้างความประทับใจโดยใช้แผนภูมิแท่งสินทรัพย์รวม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)