รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง “เหลียวหลัง แลหน้า การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายใต้กรอบความตกลง JTEPA”
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.เขมรัฐ เถลิงศรี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การถ่ายทอดเทคโนโลยี
2.อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
3.ความตกลงหุ่นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ความตกลงหุ่นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2550 กำหนดกรอบความร่วมมือทางด้นสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระหว่างอุตสาหกรรมในทั้งสองประเทศ ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์คือ เพิ่มความสามารถเทคโนโลยีของฝ่ายไทยผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการจัดการจากผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ของญี่ปุ่นอย่างไรก็ดี การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีนั้นมีองค์ประกอบของความรู้ซ่อนเร้น (Tacit knowledge) ที่ขึ้นกับประสบการณ์และฝังอยู่ในตัวบุคคลหรือองค์กรเจ้าของความรู้และเทคโนโลยี มากกว่าความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) ที่เป็นข้อเท็จจริงปรากฏตามเอกสารต่างๆ การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีลักษณะนี้จำเป็นต้องมีขั้นการแปลงและถ่ายทอดความรู้ที่ชัดเจนและเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมบทความฉบับนี้ ต้องการนำเสนอปัจจัยที่กำหนด คงวามสำเร็จของการถ่ายทอด ประเด็นปัญหาที่เกิดขั้นในการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย แบะนำเสนอตัวอย่างขั้นตอนการแปลงความรู้ซ่อนเร้นของเจ้าของเทคโนโลยีที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาคเอกชนไทยควรจะให้ความสำคัญอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากกรอบความร่วมมือในความตกลง JTEPA ให้ได้มากที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 34
ฉบับที่ 134
หน้าที่ 29 - 45
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)