รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
2.วลัยพร เตชะสรพัศ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การฝึกหัดครู
2.ครู -- การผลิต -- หลักสูตร
3.ครู -- การฝึกหัดครู
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 359 คน ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 345 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 69.10 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์สอนในสถานศึกษาและปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทำงาน1-2ปี สาระความรู้นอกเหนือจากการเรียนการสอนในหลักสูตรที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องการ ได้แก่(1)ด้านการวางแผนปฏิบัติการสอนในรายวิชาที่สอน มีความต้องการเพิ่มเวลาในการเรียนรู้ด้านการเขียนแผนการเรียนรู้โดยเฉพาะการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดเป้าหมายการสอน การเขียนสรุปสาระสำคัญ การเตรียมวางแผนการสอน และการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้(2)ด้านการปฏิบัติการสอนในรายวิชาที่สอนมีความต้องการเตรียมสถานการณ์การสอนให้พร้อมสอน การใช้ทักษะและเทคนิคในการสื่อการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) ด้านการพัฒนาคุณภาพการสอนในรายวิชาที่สอน มีความต้องการการพัฒนาวิธีสอน การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม และการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (4) ด้านการปฏิบัติงานอื่นในหน้าที่ครู มีความต้องการความรู้ด้านการจักระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกิจกรรมแนะแนว และการจัดประชุม อบรม สัมมนา (5) ด้านคุณลักษณะความเป็นครู มีความต้องการทราบแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับความเป็นครู การมีเจตคติที่ดีต่อความเป็นครู และความตั้งใจและความสนใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (6) ด้านการพัฒนาความเป็นครู มีความต้องการการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง การพัฒนาสื่อสารการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียน ส่วนปัญหา อุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า สื่อการเรียนในโรงเรียนไม่เพียงพอ เตรียมการสอนไม่ทัน ไม่มีความรู้ในการจัดทำสื่อ ควบคุมนักเรียนในชั้นเรียนไม่ได้ และอาจารย์นิเทศไม่ได้ชี้แนะการส่งเอกสาร กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นอกจากนี้ พบว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสนอแนะให้เพิ่มชั่วโมงการเรียนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และเทคนิควิธีสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อยากให้มีการสัมมนาระหว่างอาจารย์นิเทศกับครูพี่เลี้ยงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและวิธีการนิเทศควรมีความแตกต่างกัน เพราะประสบการณ์ด้านการสอนของนักศึกษาไม่เท่ากัน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 4
ฉบับที่ ฉบับพิเศษ
หน้าที่ 149 - 160
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)