รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารในครอบครัวกับพฤติกรรมการมีวินัยของเด็กไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.พิรุณรัตน์ ตุลย์ฐิตนันท์
2.เมตตา วิวัฒนากูล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารในครอบครัว
2.พฤติกรรมของเด็ก
3.เด็ก -- พฤติกรรม -- วิจัย
4.บุตร -- การดูแล -- แง่จิตวิทยา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารในครอบครัวกับพฤติกรรมการมีวินัยของเด็กไทย โดยการศึกษาจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 438 คน จากโรงเรียนประเภทต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และใช้แบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์เด็กและผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการวิจัยพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการมีวินัยอยู่ในระดับปลานกลาง โดยเด็กผู้หญิงมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการมีวินัยสูงกว่าเด็กผู้ชาย และโรงเรียนหญิงล้วนมีพฤติกรรมการมีวินัยมากกว่าโรงเรียนรัฐบาล และพบว่ารูปแบบการสื่อสารในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีวินัยมากที่สุด ทั้งนี้วิธีการสื่อสารภายในครอบครัวทางบวกที่ใช้มากที่สุด คือ การพูดโดยตรงเชิงบวก อาทิ เช่น การอบรม และสอน การอธิบายถึงคุณค่าของวินัย ส่วนวิธีการสื่อสารเชิงลบที่ใช้มากที่สุดคือ การพูดโดยตรงเชิงลบ อาทิเช่น การว่ากล่าวตักเตือนเมื่อทำผิด การลงโทษ และการออกคำสั่งให้ทำตาม ทั้งนี้เมื่อพิจารณาหลักการโน้มน้าวใจของอริสโตเติลพบว่า มีการใช้หลักฐานและเหตุผล (Logos) มากกว่าการเน้นความน่าเชื่อถือหรือการยอมรับในตัวผู้ส่งสาร (Ethos) และการกระตุ้นทางอารมณ์และความรู้สึก (Pathos) ในการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการมีวินัยแก่เด็ก อนึ่งภูมิหลังทางครอบครัว เช่น อายุคู่สมรสของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครองและคู่สมรส รายได้ของผู้ปกครองและผู้สมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การมีวินัยของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่สถานภาพการสมรสของผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเด็ก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 124-137
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)