รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสื่อสารเพื่อการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนมอญ บ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | จันทร์ธิดา สังขจันทร์ |
2. | อวยพร พานิช |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | พิพิธภัณฑ์ |
2. | พิพิธภัณฑ์ -- การจัดการ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิบัติการในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชมชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำลงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งเพื่อการศึกษารูปแบบการสื่อสารในช่วงการดำเนินการรื้อฟื้นพิพิธภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วงแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ 1.ช่วงก่อตั้ง เป็นช่วงที่กลุ่มคนต่างๆ จากทั้งภายใน ภายนอกชุมชนได้มารวมกัน 2.ช่วงดำเนินการ แบ่งเป็น2ระยะ โดยระยะแรก มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลพิพิธภัณฑ์แต่ต่อมาในระยะหลัง ชุมชนเริ่มถอยห่างจากพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ทำให้รูปแบบการทำงานของคณะกรรมการหายไป 3.ช่วงอบต.เข้ามาดูแลเกิดปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการของหน่วยงานที่รับผิดชอบเดิมทำให้ต้องโอนหน้าที่ความรับผิดชอบให้ อบต.ดูแล ในส่วนของการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ร่วมผลิต /ผู้ร่วมส่งสาร และในฐานะผู้วางแผนกำหนดนโยบาย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์ พบว่า ถึงแม้รูปแบบการบริหารจัดการจะไม่มีการทำงานในลักษณะที่เป็นทางการมากนัก แต่ก็มีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งชุมชน (บ้าน วัด โรงเรียน) ผู้นำชุมชน และต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินการขับเคลื่อนไปได้ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเพื่อการรื้อฟื้น พบว่า โครงการรื้อฟื้นพิพิธภัณฑ์ที่เข้ามาดำเนินการรื้อฟื้นในชุมชนบ้านม่วง เป็นโครงการจากหน่วยงานภายนอก โดยรูปแบบการสื่อสารจะเน้นไปที่รูปแบบการจัดประชุม/ อบรม และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับชุมชนในระยะเริ่มต้น เพื่อติดตั้งความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาชุมชน โดยในส่วนของ “คนใน” ต้องสร้างกลุ่มแกนนำขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนและกระตุ้นการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการรื้อฟื้นในทุกภาคส่วน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)