รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านสบเส้า ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน ในระยะที่ 1
ชื่อเรื่องรอง Participating Development for sustainable strengthening community regarding sufficiency economy Philosophies in Sopsao village, Ta – Sopsao Sub – District, MaeTa District Lamphun in Phase 1.
ชื่อผู้แต่ง
1.ณภัทร กุลนันทร์
2.พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์
3.นินุช บุณยฤทธานนท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
2.เศรษฐกิจพอเพียง
3.การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ลำพูน -- ทาสบเส้า
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ ศึกษาสภาพขอทรัพยากรที่แท้จริงในชุมชน ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของประชากรในชุมชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชน และศึกษาแนวทางและความเป็นได้ในการนำทรัพยากรมาใช้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมโดยมีการจัดเวทีให้ชุมชนในหมู่บ้านสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนเพื่อร่วมกันศึกษาและค้นหาแนวทางอันเป็นรูปธรรมในการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจแบบพอเพียง และได้มีการเก็บ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ทั้งกลุ่มตัวอย่างชาวบ้านในพื้นที่วิจัยจำนวน322 ครัวเรือน ผลการศึกษา พบว่าภายในชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรดิน และทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์โดยในชุมชนมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมดจำนวน 322และมีประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนจำนวน 884คนโดยประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 50.68 ประชากรส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 41-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.65 ซึ่งสถานภาพของประชากรส่วนใหญ่นั้นได้สมรสแล้ว คิดเป็นร้อยละ 60.86 ในส่วนของระดับการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 68.21 และมีอาชีพรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 54.53 ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ช่วงระหว่าง 1000 ถึง 3000 บาทคิดเป็นร้อยละ 34.62 ประชากรในชุมชนดังกล่าวมีความสามารถพิเศษหลายด้าน เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ งานฝีมือ การทำอาหาร ทำขนมและการจักสาน เป็นต้น นอกจากนี้ภายในชุมชนมีการรวมกลุ่มของเยาวชนอย่างเข้มแข็งโดยมีการจัดตั้งชมรมว่า จิตอาสารวมใจรักพัฒนาทาสบเส้าและมีการจัดทำเว็บไซต์ของชมรมคือ www.jasclub.com และมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวคือ อ่างเก็บน้ำแม่เส้า สถานที่ปั่นจักรยานออกกำลังกาย การออมและภาระหนี้สินของประชากรในชุมชนนั้น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่ไม่มีเงินออมคิดเป็นร้อยละ 64.60 และครัวเรือนส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 58.07 ในการศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนนั้นได้มีการแบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 ด้าน คือ ปัญหาด้านกายภาพ ปัญหาขยะ น้ำประปาหมู่บ้านไม่ไหล ปัญหา ด้านสังคม คือ เยาวชนติดยาเสพติด การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ คือ หนี้สิน การว่างงาน ปัญหาด้านการจัดการ คือ การจัดการระบบน้ำดื่ม สำหรับระดับความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับน้อย จากข้อมูลของชุมชนที่ได้ทำการศึกษาในช่วงระยะที่ 1 ทำให้เกิดโครงการพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีทั้งหมด 9โครงการคือ โครงการให้ความรู้ดานการพัฒนาบทบาทของสมาชิกในชุมชน โครงการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงการสมุนไพรชุมชน โครงการฟื้นฟูและสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงการการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน โครงการจัดตั้งศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง และโครงการจัดทำบ้านพักโฮมสเตย์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ปีที่ 4
ฉบับที่ ฉบับพิเศษ
หน้าที่ 19 -31
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9590
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)